16 กุมภาพันธ์ 2554

การจัดการความรู้เรื่อง เทคนิคการทำงานให้ประสบผลสำเร็จ

การจัดการความรู้เรื่อง เทคนิคการทำงานให้ประสบผลสำเร็จบทสัมภาษณ์แนวทางการทำงานให้ประสบผลสำเร็จ
บทสัมภาษณ์แนวทางการทำงานให้ประสบผลสำเร็จ (อ้างถึงใน URL : http://www.212cafe.com/
freewebboard/view.php?user=assawin2&id=45) ได้ให้ความหมายว่า
โดย นางพวงผกา ทนันไชย บัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัย รามคำแหง
สัมภาษณ์ อาจารย์อัศวิน นันทะแสง ครูชำนาญการพิเศษ โรงเรียนบ้านนาเยีย
สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาอุดรธานี เขต 3 ประธานชมรมอาจารย์ 3
สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาอุดรธานี เขต 3 เมื่อวันที่ 7 ตุลาคม 2551
++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++
พวงผกา ก่อนอื่นดิฉันขอแนะนำตัวก่อนนะคะ ดิฉันชื่อ นางพวงผกา ทนันไทย อาชีพ รับราชการครู ชำนาญการพิเศษ โรงเรียนนิคมกิ่วลม 3 เขตพื้นที่การศึกษาลำปาง เขต 1 กำลังศึกษาในระดับมหาบัณฑิต สาขาบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยรามคำแหง ศูนย์เชียงใหม่ ขณะนี้กำลังศึกษาในรายวิชา มนุษย์สัมพันธ์ อยากเรียนสัมภาษณ์ท่านอาจารย์ อัศวิน นันทะแสง ในวันนี้ในเรื่อง ความสำเร็จในอาชีพ
อัศวิน ผมยินดีมากเลยครับท่านอาจารย์ที่เห็นอาจารย์พวงผกา และเพื่อนครูเรามีการพัฒนาในการศึกษาต่อระดับปริญญาโท โดยเฉพาะสาขาบริหารการศึกษา ถือว่าเป็นหลักในการบริหารการศึกษาระดับต้น ๆ
พวงผกา อยากเรียนถามท่านอาจารย์อัศวิน นันทะแสง นะค่ะว่า อาจารย์เป็นคนจังหวัดใด รับราชการมากี่ปีแล้วเรียนจบระดับสูงสุด ได้อาจารย์ 3 ตอนไหน และ ท่านเดินทางมาบรรยาย ให้ความรู้เกี่ยวกับการจัดทำผลงานทางวิชาการทางภาคเหนือบ่อยไหมค่ะ
อัศวิน จริง ๆ แล้วผมเป็นคน จังหวัดหนองคาย ครับ บรรจุเป็นข้าราชการครู เมื่อ วันที่ 16 ธันวาคม 2534รับราชการมาประมาณ 16 ปี ครับ จบการศึกษาระดับ ปริญญาโท จากมหาวิทยาลัย มหาสารคาม เมื่อ ปี 2542 สาขา เทคโนโลยีการศึกษา และได้รับแต่งตั้งเลื่อนเป็น อาจารย์ 3 เมื่อวันที่ 27 กันยายน 2545 ในตำแหน่ง อาจารย์ 3 ระดับ 6 เดินทางมาบรรยายที่ภาคเหนือ รวมแล้ว 2-3 ครั้ง ถ้าจำไม่ผิดนะครับ
พวงผกา ในการทำงานที่ประสบความสำเร็จของท่าน ท่านมีแนวทางหรือมีการวางแผนอย่างไรค่ะ
อัศวิน จริง ๆ แล้วนะครับท่านอาจารย์ ผมเองเป็นคนชนบทคนหนึ่งอยู่ในแถบอีสานตอนบน ติดชายแดนประเทศลาวสมัยเด็ก ๆ ผมเป็นคนชอบฝันอยากเป็นโน่น เป็นนี่ ไม่เหมือนใคร ความคิด นะว่าสักวันหนึ่ง เราจะต้องเป็นตำรวจ- ทหาร ให้ได้เห็นเขาแต่งตัวดูแล้วเท่ ความคิดนี่แหละอาจารย์เป็นตัวกำหนดให้เรานั่นจะระลึกและคิดอยู่ตลอดเวลาว่า เราจะต้องทำให้ได้ เป็นการวางแผน แนวความคิดในระยะยาว จะเป็นจริง หรือไม่เป็นจริงค่อยว่าอีกที สุดท้ายออกมาเป็นครู เมื่อออกมารับราชการครู ก็มีการวางแผนเสียก่อนนะครับ งานทุกอย่าง อาชีพทุกอาชีพ หรือแม้แต่ตนเองนะครับ หากไม่มีการจัดการที่ดี ส่วนมากอุปสรรคจะเข้ามาแทนที่ ทันทีเลยครับอาจารย์ การจัดการที่ดีจะต้องมีระบบ ผมเอง เมื่อคิดที่จะทำผลงาน อาจารย์ 3 จะมีการวางแผนอย่างมีระบบนะครับ อยากจะเล่าให้อาจารย์ ฟังสักเล็กน้อยนะครับ คือ เมื่อรับราชการจะศึกษาขั้นตอนในการทำให้เข้าใจ สอบถามเพื่อนที่มีข้อมูล เก็บงานแยกออกเป็น ปี ๆ อย่างเป็นระบบ อาจารย์อย่าออกนอกระบบนะครับ งานทุกอย่างจะล้มเหลวทันที ให้ยึดระบบเอาไว้ มีการศึกษาเพิ่มเติมโดยการเข้าศึกษาต่อ ระดับบัณฑิตศึกษา พุดจริงนะครับอาจารย์ ใจเรานี่แหละตัวสำคัญ มีความพยายามมากเพียงพอหรือไม่ มีความอดทน มีความอึด สรุปแล้วมีการวางแผนอย่างเป็นระบบ ที่นิยมนำมาบริหารจัดการก็คือ P D C A นี่แหละครับ
พวงผกา ขอเรียนถามท่านอาจารย์ต่อเลยนะค่ะ ว่า ในการทำงานนอกจากท่านมีการวางแผนอย่างเป็นระบบแล้ว ท่านมีวิสัยทัศน์ ในการทำงานอย่างไรค่ะ
อัศวิน อาจารย์ครับ พวกเรามีอาชีพเป็นครู หน้าที่ของครู คือจะต้องมีจุดหมายปลายทาง สำนึกในหน้าที่ เป็นหน้าที่ที่ยิ่งใหญ่ มีเกียรติภูมิ ผมเป็นคนหนึ่งที่มองอนาคต ความเป็นไปจะจบลงอย่างไรไว้ล่วงหน้าเสมอครับ สำหรับวิสัยทัศน์ผมนะครับ พัฒนาวิชาการให้เป็นหนึ่ง ซาบซึ้งงานศิลปวัฒนธรรม ทำความดีให้ปรากฏ เพื่อแทนทดบุญคุณของแผ่นดิน ต้องขายความหน่อยนะครับ ผมจะพัฒนาวิชาการอยู่ตลอดเวลาเลยนะครับ..เวลาว่างแทบไม่มีครับ ผมชอบเขียนหนังสือส่วนมากเป็นหนังสือด้านวิชาการและประเภทหนังสือการ์ตูน บทความ เอกสารประกอบการเรียน บทเรียนสำเร็จรูป และอีกมากมายครับ ผมเป็นอีกคนหนึ่งนะครับที่ชอบวิถีชีวิต ความเป็นเป็นอยู่ของคนในชุมชน เพราะบุคคลสำคัญมากเนื่องจากคนกลุ่มนี้ มีวัฒนธรรม ถ่ายทอด ภูมิปัญญาของตนเองออกมา เป็นประโยชน์กับลูกหลานไว้มากมายครับ เช่น การปั้นหม้อ ทอเสื่อ รวมถึงประเพณีของท้องถิ่นที่ทรงคุณค่า ผมเป็นคนหนึ่งที่จะสืบทอดเจตนารมณ์พวกเขาเหล่านั้น โดยสั่งสอนบุตรหลานของพวกเขาให้เป็นคนดีของสังคมชนบทและเป็นคนดีของประเทศชาติสืบต่อไปเพื่อทดแทนบุญคุณของแผ่นดินที่ให้ทุกอย่างกับชีวิตเรา ครับ ยาวไปหน่อยเน๊าะ
พวงผกา ขอเรียนถามอาจารย์อัศวิน ต่อเลยนะค่ะ พอจะทราบความเป็นมาแห่งความสำเร็จของท่านแล้วส่วนหนึ่งนะค่ะ แต่ดิฉันอยากจะถามท่านว่า ท่านยึดหลักทฤษฎีของใคร บ้างค่ะในการทำงานให้ประสบผลสำเร็จค่ะ
อัศวิน เอาอย่างงั้นหรืออาจารย์
พวงผกา ค่ะ อาจารย์ประจำวิชาท่านอยากให้สัมภาษณ์เกี่ยวกับทฤษฎีที่นำมาใช้ในการทำงาน
อัศวิน ผมเองก็ไม่เก่งทฤษฎีสักเท่าไหร่นะครับอาจารย์ เอาอย่างนี้ก็แล้วกันครับ ผมเคยเกิ่นนำ แรก ๆ แล้วว่าผมเป็นเด็กชนบท ชอบคิด ก่อนหน้านั้นผมไม่ได้ยึดหลักทฤษฎีของผู้ใดเป็นหลัก แต่จะเอาอย่างผู้ใหญ่ที่ปฏิบัติตัว ทำงานมีเงินเดือน หลัง ๆ นี้ก็เข้าศึกษาต่อในระดับ ปริญญาตรี โท ก็มีวันหนึ่ง หลานชายเขาไปชวนไปฟังวิทยากร บรรยายคือ คุณชัย ลาภสัมปันน์ จากบริษัทอยุธยาอาลิอัน ซีพี ประกันภัย ขำกัดเราคือสิ่งมหัศจรรย์ของโลก เราก็คือคน ในโลกนี้ไม่มีอะไรเป็นไม่ได้ ไม่มีใครเกิดมาแล้วเป็น ความสำเร็จเกิดจากการเรียนรู้ ทำตาม มีความพยายาม มีความอดทน ล้มแล้วต้องลุก หาข้อผิดพลาด แก้ไขปรับปรุง ท้อได้ แต่อย่าถอย ทุกคนมีความสามารถเท่ากัน แต่จะนำมาใช้หรือไม่ รวมถึงการอ่านหนังสือ ความสำเร็จแห่งชีวิต ที่คุณชัย ลาภสัมปันน์ เฮีย กฤษณะ นามสกุลท่านจำไม่ได้ เรียนรู้และศึกษาผู้มีรายได้ ปีหนึ่ง 30 ล้าน เขาเก่งมาก นักขายประกันนะอาจารย์พวกนี้เขาเอาทฤษฎีฝรั่ง ปราชญ์ฝรั่งเป็นแบบอย่าง แต่ถ้าเรามองให้เห็นภาพนะ อาจารย์ กลุ่มคนนักขายประกันนี้ มีลูกค้าเป็นที่ตั้ง ถามก่อนว่าพวกลูกค้าเหล่านั้นทำอย่างไรเขาถึงจะซื้อประกันกับเรา ตอบได้เลยว่าเราจะต้องมี มนุษยสัมพันธ์เป็นอันดับแรก ยิ้มแย้มแจ่มใส ทักทายเหมือนญาติพี่น้อง สร้างทีมงาน เป็นเครือข่ายสร้างความศรัทธาให้เกิดกับลูกน้อง สิ่งต่าง ๆ เหล่านี้นะครับอาจารย์เป็นสิ่งสำคัญ อาจารย์อาจจะถามว่าแล้วมันมาเกี่ยวกับความสำเร็จของเราได้อย่างไร ผมตอบแทนอาจารย์พวงผกา ได้เลยนะว่า ศาสตร์และศิลป์พวกนี้แหละ เราสามารถนำมาบูรณาการกับงานที่เราทำอยู่ในปัจจุบัน คุณครูท่านใดมีหลัก มีเกณฑ์ มีกระบวนการ อย่างเป็นระบบ มีเครือข่าย สร้างความศรัทธาให้เกิดขึ้นกับตัวเอง นะครับ
พวงผกา และทฤษฎีฝรั่งหละค่ะพอจะบอกชื่อได้ไหม................... อาจารย์ยิ้มทำไมค่ะ
อัศวิน เออ......... คือย่างนี้นะครับอาจารย์ ผมสอนโรงเรียนประถมศึกษา ไม่เหมือนอาจารย์มหาวิทยาลัย นะ กลัวว่าบอกไปแล้วมันจะผิดพลาด
พวงผกา ไม่เป็นไรหรอกค่ะอาจารย์
อัศวิน เอาจริง ๆ หรือครับ ...ลองดูนะครับ การนำหลักทฤษฎีมาใช้ มี ทฤษฎี มีหลายคนนะครับแต่ผมเองนำมาผสมผสานกันเอาพอจะสรุปได้ดังนี้นะครับ
1. ทฤษฏีความคาดหวังของวรูม การจูงใจของคนเพื่อกระทำการสิ่งใดสิ่งหนึ่ง จะถูกกำหนดโดยคุณค่าของผลลัพธ์ที่ ได้จากความพยายาม คูณกับความเชื่อมั่นที่ว่าความพยายามนั้นช่วยให้ประสบความสำเร็จตามเป้าหมาย
2. ทฤษฏีแรงจูงใจของพอร์เตอร์และลอว์เลอร์ ปริมาณของความพยายามขึ้นอยู่กับค่าของรางวัล บวกกับจำนวนพลังงานที่บุคคลมีความเชื่อ และความน่าจะเป็นของการได้รับรางวัล การปฏิบัติงานนำไปสู่รางวัลภายในและภายนอก และรางวัลนำไปสู่ความพึงพอใจ
3. ทฤษฏีการเสริมแรงของสกินเนอร์ การเสริมแรงของมนุษย์มีพื้นฐานอยู่บนปัจจัย 3 ประการ ได้แก่ มนุษย์จะมีพฤติกรรมตามการเสริมแรงที่เกิดขึ้นกับตนและการทำงานของตน เป็นพฤติกรรมที่สามารถวัดหรือสังเกตได้ และการเสริมแรงที่เหมาะสมนั้นจะทำให้พฤติกรรมที่เป็นที่ต้องการมีเพิ่มขึ้น และที่ไม่ต้องการมีลดน้อยลงไป แบ่งเป็น การเสริมแรงทางบวก คือ การให้รางวัลในผลลัพธ์จากการกระทำที่ต้องการหรือปรับปรุงพฤติกรรม และการเสริมแรงทางลบ คือ การให้รางวัลจากการสามารถขจัดสิ่งที่ไม่ต้องการออกไปได้
4. ทฤษฏีความต้องการความสัมฤทธิ์ผลของแมคเคลแลนด์ มนุษย์มีความต้องการ 3 ด้าน ได้แก่ ความสำเร็จ อำนาจ และความต้องการทางสังคม
พวงผกา อาจารย์ก็เก่งอยู่นะ
อัศวิน ก็อย่างงั้น ๆ แหละครับอาจารย์ คือผมชอบซื้อหนังสือมาอ่านจำพวกพวกปรัชญา แนวคิด หลักทฤษฎี ส่วนมากก็นำมาปรับใช้ในชีวิตการทำงานของเรา เรียนให้ท่านอาจารย์ทราบว่า หลักในการทำงานให้ประสบผลสัมฤทธิ์นั้นมีองค์ประกอบมากมายครับ ที่สำคัญที่สุดคือ ตัวเรานี้แหละครับสำคัญที่สุด หากเราไม่ก้าว แล้วเราจะไปถึง จุดหมายปลายทางได้อย่างไร
พวงผกา จากการนำทฤษฎีไม่ว่าจะเป็นของคุณชัย ลาปสันปันน์ และทฤษฎีที่กล่าวมา อยากให้อาจารย์ยกตัวอย่างความสำเร็จของอาจารย์ว่าเกี่ยวกับอะไรบ้างค่ะ
อัศวิน คืออย่างนี้นะครับอาจารย์ ผมจะสรุปเลยนะครับเริ่มตั้งแต่เป็นครูเลยนะครับ
2537 ครูผู้สอนกลุ่มวิชา สปช. สปอ.บึงกาฬ จังหวัดหนองคาย
2539 ครูผู้สอนศิลปศึกษาดีเด่น สปอ.หนองหาน จังหวัดอุดรธานี
2539 ครูผู้เสียสละและอุทิศเวลาให้ทางการดีเด่น สปอ.หนองหาน จังหวัดอุดรธานี
2540 ครูผู้สอนวิชาศิลปศึกษาดีเด่น สปอ.หนองหาน จังหวัดอุดรธานี
2542 จบการศึกษามหาบัณฑิต (กศ.ม.) จากมหาวิทยาลัยมหาสารคาม
2544 ได้รับคัดเลือกเป็นกรรมการการเลือกตั้ง เขต 6 อุดรธานี
2545 ได้รับแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่ง อาจารย์ 3 ระดับ 6
2546 ได้รับคัดเลือกให้ดำรงตำแหน่งรองประธานกรรมการสถานศึกษาโรงเรียนหนองหานวิทยา
2547 ได้รับคัดเลือกเป็นประธานกรรมการการเลือกตั้งประจำท้องถิ่นตำบลโพนงาม อ.หนองหาน
2548 ได้รับคัดเลือกครูผู้แต่งกายดีเด่น ประจำปี ประเภทชาย ในวันครู ปี2548
2548 ได้รับคัดเลือกเป็นประธานชมรมอาจารย์ 3 สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาอุดรธานี เขต 3
2550 ได้รับคัดเลือกเป็นกรรมการประเมินเพื่อเลื่อนตำแหน่ง อาจารย์ 3 เชิงประจักษ์ จากสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน
2550 เป็นวิทยากรบรรยายการจัดทำผลงานทางวิชาการ -ปัจจุบัน
2550 ได้รับคัดเลือกเป็นพ่อชุมชนดีเด่น ประจำปี 2550 โรงเรียนหนองหานวิทยา
2551 ได้รับคัดเลือกเป็นกรรมการสรรหากรรมการคุรุสภา
2551 ได้รับคัดเลือกเป็นประธานกรรมการการเลือกตั้งประจำท้องถิ่นตำบลโพนงาม อ.หนองหาน
คงพอแล้วหละอาจารย์เดี๋ยวมีคนมั่นไส้เอา
พวงผกา ขอชื่นชมอาจารย์นะค่ะก็เก่งนะ
อัศวิน ก็ไม่เก่งหรอกครับ คนเก่งกว่าผมมีอีกเยอะ
พวงผกา ทราบข่าวว่าท่านมีผลงานเตรียมเผยแพร่ มีอะไรบ้างค่ะ
อัศวิน ตอนนี้ก็มี 1.ชุดหนังสือภาพการ์ตูน ชุดวรรณกรรมท้องถิ่น 6 เรื่อง สมุดฝึกระบายสี 6 เรื่อง หนังสือนิทานคุณธรรม 20 เรื่อง บทเรียนสำเร็จรูปวิชาทัศนศิลป์ 5 เรื่อง หนังสืออ่านประกอบวิชาศิลปะ 5 เรื่อง ชุดกิจกรรมสาระวิยาศาสตร์ 5 เรื่อง บทเรียนสำเร็จรูปวิชาสังคมศึกษา 20 เรื่อง บทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน เรื่องสีน้ำ 8 เรื่อง หนังสืออ่านประกอบวันสำคัญ 2 เรื่อง งานวิจัย 2 เรื่อง และ E-BooK 6 เรื่อง หนังสือการ์ตูน 10 เรื่อง อาจารย์ก็ติดตามทางเว็บไซต์ของผมเลยนะครับ ตอนนี้กำลังอัฟเดท ข้อมูลคิดว่าไม่น่าเกิน สิ้นตุลาคม ก็คงเสร็จสมบูรณ์
พวงผกา ขอเรียนสัมภาษณ์ท่านอาจารย์เป็นคำถามสุดท้ายนะค่ะว่า ท่านมีคติประจำใจในการทำงานให้ประสบความสำเร็จอย่างไร
อัศวิน ส่วนคติประจำใจนะครับ ผมใช้คำว่า ความสำเร็จอยู่ไม่ไกล อยู่ที่ใจของเรา ครับ
พวงผกา ขอกราบขอบพระคุณท่านอาจารย์เป็นอย่างมากนะค่ะ ที่ได้ให้ข้อคิดหลักการในการทำงานให้ประสบความสำเร็จ ขอบคุณค่ะ สวัสดีค่ะ
อัศวิน ไม่เป็นไรครับอาจารย์สิ่งไหนที่พอจะเป็นประโยชน์ก็เลือกนำไปใช้เอานะครับ สวัสดีครับ



แนวคิดการทำงานให้ประสบผลสำเร็จ

แนวคิดการทำงานให้ประสบผลสำเร็จ (อ้างถึงใน URL : http://www.chatvariety.com) ได้ให้ความหมายว่า การดำเนินชีวิตให้เจริญก้าวหน้าประสบผลสำเร็จใน ด้านอาชีพการงานได้นั้น ความสำเร็จจะเกิดขึ้นได้ก็ต่อเมื่อรู้จักเป้าหมายการทำงานมีหลักปฏิบัติใน การทำงานรู้วิธีการทำงาน รู้เหตุและรู้ผล ซึ่งเป็นปัจจัยในความสำเร็จของงาน ผู้ทำงานต้องมีคุณสมบัติเบื้องต้นในการทำงานเพื่อความสำเร็จต่อไปนี้...
1. เป้าหมายของผู้ทำงาน สร้างความสุข ความเจริญก้าวหน้า และความมั่นคงให้กับ ตัวเอง ครอบครัว และประเทศชาติ
2. หลักปฏิบัติในการทำงาน
2.1 การตั้งใจทำให้จริง ทำให้ตรง ทำให้ตลอด
2.2 การพยายามคิดพิจารณาด้วยความรู้ความสามารถของตนด้วยปัญญา ให้เห็นถึงสาระและประโยชน์แท้จริงของงานที่ทำนั้นให้กระจ่างชัด
2.3 จงพยายามวางสิ่งอื่น ๆ ที่ไม่ใช่สาระและเป้าหมายของงานนั้นไว้ก่อน และตั้งหน้าตั้งตา กระทำงานนั้นให้จนสำเร็จลุล่วง
2.4 การรู้จักพยายามควบคุมอารมณ์ของตนเอง ทั้งกาย วาจา และจิตใจให้อยู่ในความสงบ หนักแน่น มั่นคง แน่นอน มีสติ และสงบสำรวมรอบคอบ ไม่ปล่อยให้ตื่นเต้น หวั่นไหว และฟุ้งซ่าน
3. วิธีการทำงาน
3.1 จะต้องตระหนักในหน้าที่ ที่รับผิดชอบ
3.2 จะต้องศึกษาขอบเขตความมุ่งหมายของงาน ตลอดจนสถานการณ์แวดล้อมต่าง ๆ ให้ เข้าใจแจ่มแจ้งทั่วถึงตามความเป็นจริงทุกกรณีไป
3.3 ควรจะแสดงความคิดเห็นร่วมกับผู้ร่วมงานอยู่เสมอ
3.4 จะต้องมีความตั้งใจอันแน่วแน่อยู่ตลอดเวลาที่จะปรับปรุงตนเอง วิธีการ และกลไกการปฏิบัติงานอย่างถูกต้อง
4. รู้ปัจจัยความสำเร็จของการทำงาน
4.1 มีความรู้ความสามารถในวิชาการ
4.2 มีจิตใจเข้มแข็ง หนักแน่นในเหตุผลแห่งความถูกต้องในความสุจริต ยุติธรรมในความเที่ยงตรง และความรับผิดชอบ
4.3 มีความรอบรู้ ความคิดอ่านที่กว้างไกล มีหลักเกณฑ์กับความเฉลียวฉลาดคล่องตัวในการประสานงานและประสานประโยชน์
5. คุณสมบัติพื้นฐานของผู้ปฏิบัติงาน
5.1 มีความตั้งใจจริง
5.2 มีความอดทน
5.3 มีความขยันหมั่นเพียร
5.4 มีความซื่อตรง
5.5 มีความเห็นอกเห็นใจ
5.6 มีถ้อยทีถ้อยอาศัย
5.7 มีความเมตตา กรุณา มุ่งดีมุ่งเจริญต่อกัน
5.8 มีความสามัคคี
5.9 มีความสุจริตต่อตนเอง ต่อผู้อื่น และส่วนรวม
6. ปัจจัยในการสร้างความสามัคคี
6.1 การปันสิ่งของของตนเองแก่ผู้อื่นที่ควรให้ อันได้แก่การเสียสละ การเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ การช่วยเหลือกันด้วยสิ่งของตลอดถึงการให้วิชาความรู้ ข้อแนะนำสั่งสอนที่เป็นประโยชน์และเป็นธรรม
6.2 มีไมตรีจิต มีความรัก ความปรารถนาดีต่อกัน เจรจาถ้อยคำอ่อนหวาน อันได้แก่ การพูดถ้อยคำที่น่ารัก คำสุภาพ ไพเราะ สมานสามัคคี ก่อให้เกิดไมตรี และความรักนับถือกัน ตลอดถ้อยคำที่เป็นประโยชน์ และเป็นธรรมอื่น ๆ
6.3 ประพฤติสิ่งที่เป็นประโยชน์แก่ผู้อื่น อันได้แก่การขวนขวาย ช่วยเหลือกิจการ บำเพ็ญสาธารณประโยชน์และสนับสนุนส่งเสริมในทางศีลธรรม จริยธรรม
6.4 ความเป็นผู้เสมอต้นเสมอปลาย อันได้แก่ ความเป็นคนดีต่อผู้อื่น เสมอต้นเสมอปลาย ความเป็นผู้มีจุดมุ่งหมายร่วมกัน ความมีใจร่วมสุขร่วมทุกข์กับคนอื่นเสมอทุกเวลาและทุกกรณี
นอกจากที่ ได้กล่าวมาแล้ว การที่บุคคลจะดำเนินชีวิตในการทำงานให้ประสบผลสำเร็จไปด้วยดีอีกด้านควรนำไป ปฏิบัติควบคู่กัน และมีผลกับทางด้านจิตใจ คือการปฏิบัติตามหลักธรรม ดังพระพุทธองค์ทรงชี้แนะไว้ว่า พละ 5 คือ พลัง 5 ประการ ได้แก่ ฉันทะ(ความพอใจ) วิริยะ(ความพากเพียร) สติ (ความไม่ประมาท) สมาธิ (ความตั้งใจแน่วแน่) และปัญญา (ความเห็นแจ้งด้วยปัญญา)
การปฏิบัติตาม หลักธรรมที่จะนำไปสู่ความสำเร็จแห่งกิจการนั้น คือหลักแห่งความสำเร็จ เรียกว่าอิทธิบาท 4 (ธรรมให้ถึงความสำเร็จ) มี 4 ข้อคือ
ฉันทะ มีใจรัก คือพอใจจะทำสิ่งนั้น และทำด้วยใจรัก ต้องทำให้เป็นผลสำเร็จอย่างดีแห่งกิจ หรืองานที่ทำ มิใช่สักว่าทำพอให้เสร็จ ๆ หรือเพียงเพราะอยากได้รางวัลหรือผลกำไร ฉันทะ ให้พอใจในหน้าที่ที่ได้รับมอบหมาย จะทำกิจการใด ๆ ก็ได้ แปลว่า รักที่จะทำ พอใจที่จะทำ หรืออยากจะทำก็ได้ ซึ่งเป็นการอยากจะทำความดี ความอยากจึงมี 2 แบบ อย่างแรกคือ อยากในสิ่งที่ดี เช่น มีจิตใจใฝ่รู้ ใฝ่ดี ใฝ่ทำ ใฝ่สร้างสรรค์ ใฝ่สัมฤทธิ์ อยากทำเพื่อให้ได้ผล หรืออยากจะฝึกให้เก่ง เหมือนคนอื่นเขา เรียดว่า ฉันทะ ฉันทะเป็นของดีและเป็นธรรมที่พระพุทธเจ้า สรรเสริญ อย่างที่สอง คือ อยากในสิ่งที่ไม่ดี คือ อยากมี อยากเป็นในบางอย่างไม่อยากมีไม่อยากเป็นในบางอย่าง หรืออยากได้ผลไปเลย เช่น ฉันอยากเก่ง อยากรวย อยากได้ของคนอื่น เรียกว่า ตัณหา
วิริยะ คือ ให้เพียรพยายามปฏิบัติหน้าที่ ขยัน หมั่นกระทำไม่ท้อถอยมีความเพียรที่จะทำ ตัวอย่างชัด และทุกคนทราบ เช่น การฝึกอบรมหลักสูตรภาษาอังกฤษ และภาษาจีน เป็นภาษาที่สอง ทุกคนก็ไปเรียน ที่ไม่รู้ก็เพียรพยายามค้นคว้าหาศัพท์ ฝึกการอ่าน การพูด การเขียน การท่อง ฝึกทำการบ้าน เพื่อจะได้สอบผ่าน หรือ เจ้าหน้าที่ที่ถูกส่งไปฝึกอบรมคอมพิวเตอร์ใช้ในสำนักงาน จากสิ่งที่ไม่รู้ ไม่เข้าใจหมั่นเพียรฝึกฝน เพื่อนำความรู้ที่ได้ที่เข้าใจ นำไปปฏิบัติงานในหน่วยงานของตนเอง ให้เจริญก้าวหน้าจนสำเร็จเป็นต้น ความเพียรเป็นธรรมที่ยิ่งใหญ่แม้ศัตรูก็ยอมพ่ายแพ้ในกำลังใจของผู้ที่มีความ เพียร ดังน้อมรับพระราชดำรัสแห่งองค์พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 9
“ความเพียรที่ถูกต้องเป็นธรรม และพึงประสงค์นั้น คือ ความเพียรที่จำกำจัดความเสื่อมให้หมดไป และระวังป้องกันมิให้เกิดใหม่อย่างหนึ่งกับความเพียรที่จะสร้างสรรค์ความดี ความเจริญให้เกิดขึ้น และระวังรักษามิให้เสื่อมสิ้นไปอย่างหนึ่ง ความเพียรทั้งสองประการนี้ เป็นอุปการะอย่างสำคัญแก่การปฏิบัติตนปฏิบัติงาน ถ้าทุกคนในชาติจะได้ตั้งตน ตั้งใจอยู่ในความเพียรดังกล่าว ประโยชน์และความสุขก็จะบังเกิดขึ้นพร้อมทั้งแก่ส่วนตัวและส่วนรวม” (9 มิถุนายน 2539)
จิตตะ เอาจิตฝักใฝ่ คือ ตั้งจิตรับรู้ในสิ่งที่ทำ และทำสิ่งนั้นด้วยความคิด ไม่ปล่อยจิตใจให้ฟุ้งซ่าน เลื่อนลอย ใช้ความคิดในเรื่องนั้น บ่อย ๆ เสมอ ๆ ทำกิจนั้นงานนั้นอย่างอุทิศใจ จิต ตะ คือ มีใจฝักใฝ่เอาใจใส่ในการงานพัฒนาให้เจริญอย่าเพิกเฉย ไม่ทอดทิ้ง ไม่ละเลย มีการคิดบ่อย ๆ ทำการตรวจสอบและคอยติดตามผล ตัวอย่างเช่น ครูต้องคิดว่าสอนด้วยความรู้จริง รู้จริง ทำได้จริง จึงสอนเขา สอนอย่างมีเหตุผล ให้เขาพิจารณาเข้าใจแจ้งด้วยปัญญาของเขาเอง สอนให้ได้ผลจริง สำเร็จความมุ่งหมายของเรื่องที่สอนนั้น ๆ เช่น ให้เข้าใจได้จริง เห็นความจริง ทำได้จริง นำไปปฏิบัติได้ผลจริงเป็นต้น
วิมังสา ใช้ปัญญาสอบสวน คือ หมั่นใช้ปัญญาพิจารณาใคร่ครวญตรวจตราหาเหตุผล และตรวจสอบข้อยิ่งหย่อน ข้อบกพร่องและขัดข้องในสิ่งที่ทำนั้นโดย รู้จักทดลองวางแผน วัดผลคิดค้นวิธีแก้ไข ปรับปรุงเป็นต้น เพื่อจัดการและดำเนินงานนั้นให้ได้ผลดียิ่ง ๆ ขึ้นไป วิมังสา พิจารณาเหตุผลในการทำงาน วิมังสาจึงมักจะใช้คู่กับจิตตะ คือ การใช้ปัญญาหาเหตุผลเพื่อพัฒนาปัญญาอยู่เรื่อย ๆ ตรวจสอบหาทางแก้ไขในจุดที่งานติดขัด ตัวอย่างเช่น การทำวิจัย ผู้ทำจะต้องรู้จักวางแผน คิดค้น ค้นคว้า ทำการทดลอง วัดผล และปรับปรุงแก้ไข เมื่อพบข้อบกพร่อง ใช้สติทำใจให้สงบ คิดช้า ๆ และทบทวนไตร่ตรองหาเหตุผลก็มักจะแก้ปัญหาออกได้เสมอ คือ มีปัญหาเกิดขึ้นมา และแก้ไขงานที่ทำได้เป็นผลสำเร็จดียิ่ง ๆขึ้นไป
ดังจะเห็นได้ว่า การงาน ทำกิจการใด ๆ ล้วนใช้ธรรมะคือ พละ5 และอิทธิบาท4 รวมเป็น 9 ประการ เป็นฐานธรรมที่จะนำเราไปสู่ความสำเร็จได้ และจะสำเร็จได้ดีมากน้อยเพียงใด ก็ขึ้นอยู่กับความสามารถของพละ5 และอิทธิบาท4 ของเรา มีฉันทะน้อย ก็อาจจะไม่ต้องทำงานนั้นเลย ด้วยอ้างว่าหนาวนัก ร้อนนัก เวลาเย็นนักแล้ว เพราะไม่อยากทำ มีวิระยะน้อย ทำ ๆ ไปก็ทิ้งงานกลางคัน เพราะรู้สึกว่าเบื่อ เกียจคร้านไม่รู้จักรับผิดชอบ ยอมแพ้ตั้งแต่ไม่เริ่มทำ มีจิตตะน้อย ก็พลาดหลง ๆ ลืม ๆ มองข้ามปัญหาเป็นจุด ๆ ไป หรืออาจมองแต่ความบกพร่องของคนอื่นแต่ของเราเองมองข้าม มีวิมังสาน้อย ก็แก้ปัญหาได้ไม่ดี มี สติน้อย มักทำพลาด พูดพลาด ผลุนผันไม่รอบคอบด้วยทุจริตทางกาย วาจาหรือทางใจ ปล่อยจิตเรื่อยไปไม่รู้จักยับยั้ง ในส่วนความดีไม่ตั้งใจทำ อาการดังนี้เรียกว่า ประมาท คือ ขาดสติ มีสมาธิน้อย จิตก็หวั่นไหวแปรปรวน จิตไม่มีสมาธิย่อมดิ้นรนกระสับกระส่าย คิดฟุ้งซ่าน หรือทะยานเป็นฐานแห่งความทุกข์ ไม่อาจจะใช้ปัญญาอบรมปัญญาที่มีอยู่ให้เจริญขึ้นได้ เหมือนอย่างไฟฉายที่แกว่งไปแกว่งมา ไม่อาจส่องอะไรให้มองเห็นชัดเจนได้ จึงต้องทำจิตให้สงบด้วยสมาธิเป็นหลักมีปัญญาน้อย ก็ไม่รู้จักคิด ไม่รู้จักอ่านไปทำไม เพราะอับจนปัญญา ไม่รู้จักใช้ปัญญาพิจารณาโดยแยบคาย คือความไม่เข้าใจสภาวะรู้คิด รู้เลือกวินิจฉัย และไม่รู้จักจัดการให้ถูกต้อง หลงผิดคิดแต่สร้างความเดือดร้อนแก่ตน และผู้อื่น
ดังนั้นผู้มีสติดี สมาธิก็ดี ปัญญาก็ดี สติอ่อน ปัญญาก็ซบเซา ผู้ทำงานทั่ว ๆ ไป อาจจำสั้น ๆ ว่า รักงาน สู้งาน ใส่ใจงาน และทำงานด้วยปัญญา คือ พละ5 และอิทธิบาท4 จึงเป็นธรรมนำสู่ความสำเร็จที่แท้จริง
เทคนิคการทำงานให้ประสบผลสำเร็จ (6P)
เทคนิคการทำงานให้ประสบผลสำเร็จ (อ้างถึงใน URL :http://www.bloggang.com/mainblog.php?) ได้ให้ความหมายว่า
ใครที่คิดว่าตัวเองยังไม่ประสบความสำเร็จในหน้าที่การงานเท่าที่ควร หรือล้มเหลวเมื่อปีที่ผ่านมา อย่าเพิ่งท้อ ลองค้นหาจุดบกพร่องของตัวเองแล้วปรับปรุงให้ดีขึ้น พร้อมทั้งหาเทคนิควิธีการใหม่ๆมาปรับใช้ในการทำงานนะคะ ซึ่งก็มีเทคนิคในการทำงานดีๆที่เรียกว่า คาถา 6 P มาฝาก
1. P-Positive Thinking คือ การมีทัศนคติที่เป็นบวก มองโลกในแง่ดีอยู่เสมอ ไม่คิดในทางลบ เช่น หากเจอปัญหาในการทำงาน แทนที่จะนั่งกลุ้มใจคิดว่าคราวนี้ต้องแย่แน่ ก็ให้มองว่า นี่เป็นหนทางหนี่งที่จะฝึกฝนให้เราเก่งกล้ามากยิ่งขึ้น
2. P-Peaceful Mindคือ การมีจิตใจที่สงบ เคยได้ยินคำพูดที่ว่า “จงใช้ความสงบสยบความเคลื่อนไหว” หรือเปล่า คำพูดนี้ใช้ได้ผลดีทีเดียว เวลาเกิดปัญหาขึ้น เราอย่าเพิ่งตื่นตระหนกไปกับปัญหานั้น การมีจิตใจที่สงบ มีสมาธิ จะทำให้เราเกิดปัญญาในการคิดหาวิธีแก้ปัญหา นอกจากนี้
ยังทำให้เรามีสุขภาพจิตที่ดีอีกด้วย
3. P-Patient คือ การมีความอดทน คาถาข้อนี้ก็สอดคล้องกับข้อที่แล้ว เพราะการที่เราจะมีจิตที่สงบได้ เราต้องรู้จักอดทนอดกลั้น ระงับอารมณ์ความรู้สึกที่ไม่ดีต่างๆ หากสิ่งใดๆไม่เป็นไปตามที่เราคาดหวังไว้ เราก็ต้องอดทนรอคอยให้ถึงช่วงเวลาของเรา นอกจากนี้ยังต้องอดทนต่อปัญหาและความยากลำบากในการทำงานด้วย
4. P-Punctual คือ การเป็นคนตรงต่อเวลา มนุษย์เราได้ถูกปลูกฝังให้เป็นคนมีวินัย รู้จักตรงต่อเวลามาตั้ง แต่ยังเป็นเด็ก เช่น การไม่มาโรงเรียนสาย ส่งการบ้านให้ตรงเวลา ในการทำงานก็เช่นกัน หากเรามาทำงานสาย เจ้านายคงไม่ชอบแน่ๆ แล้วยิ่งถ้าเราผิดนัดลูกค้า ผลเสียคงตามมาอีกเป็นกระบุง แม้แต่เวลายังรักษาไม่ได้ เจ้านายหรือลูกค้าคงไม่ไว้ใจให้เราทำงานใดๆแล้วละ
5. P-Polite คือ การเป็นคนสุภาพ อ่อนน้อมถ่อมตน การเป็นคนสุภาพนอบน้อมจะทำให้มีแต่คนรักใคร่ และอยากช่วยเหลือ ยิ่งถ้าเรามีตำแหน่งใหญ่โตด้วยแล้ว ยิ่งต้องมีความสุภาพอ่อนน้อมเพราะจะทำให้ผู้อื่นยิ่งเกรงใจเรามากขึ้น ตรงกันข้าม การทำตัวกระด้างกระเดื่อง หยาบคาย หยิ่งยโส ย่อมเป็นที่รังเกียจของสังคม และไม่มีใครอยากคบค้าสมาคมด้วย
6. P-Professionalคือ ความเป็นมืออาชีพในการทำงาน การที่เรามีหน้าที่อะไร เราก็ควรทำตัวให้มีความรู้ ความเชี่ยวชาญในหน้าที่นั้นๆ หมั่นแสวงหาความรู้ใหม่ๆ และหมั่นฝึกปรือฝีมือในการทำงานอยู่เสมอ เพื่อให้งานออกมาดีที่สุด การทำงานอย่างมืออาชีพ จะเป็นที่ชื่นชมและไว้วางใจของเจ้านาย รวมไปถึงลูกค้าที่ย่อมจะพอใจ และไว้วางใจให้เราดูแลงานของเขาต่อไป
สร้างความสำเร็จในการทำงาน....ด้วยตัวคุณ
สร้างความสำเร็จในการทำงานด้วยตัวคุณ (อ้างถึงใน URL :http://www.saf.mut.ac.th/pages) ได้ให้ความหมายว่า
เชื่อว่าเมื่อคนทุกคนก้าวเข้าสู่ช่วงวัยของการทำงานแล้ว..แต่ละคนย่อมมีความต้องการและความคาดหวังให้งานของตนประสบผลสำเร็จ โดยจะมีแนวทางและวิธีการในการสร้างความสำเร็จในหน้าที่การงานที่แตกต่างกันไป บางคนชอบเอาใจและหาวิธีการต่าง ๆ เพื่อสร้างความพึงพอใจจากหัวหน้างาน เพราะคิดว่าหัวหน้างานสามารถสนับสนุนความสำเร็จที่เกิดขึ้นให้กับตนเองได้ แต่บางคนประสบความสำเร็จได้จากการสนับสนุนของทีมงานโดยพยายามทำทุกวิถีทางให้สมาชิกในทีมรักใคร่..เพื่อว่าจะได้สนับสนุนให้ตนเองประสบความสำเร็จในหน้าที่การงานตามที่มุ่งหวังไว้ สำหรับบางคนเชื่อไสยศาสตร์ อาศัยสิ่งศักดิ์สิทธิ์ช่วย… และก็ยังมีอีกหลายต่อหลายคนที่มีความต้องการและความมุ่งหวังที่จะให้หน้าที่การงานของตนประสบความสำเร็จด้วยความสามารถและฝีมือของตัวเอง ความสำเร็จด้วยฝีมือของเราเองจะเป็นสิ่งที่น่าภาคภูมิใจที่สุดในชีวิต ดังนั้นในส่วนนี้จึงขอนำเสนอเทคนิคและวิธีการเพื่อการสร้างความสำเร็จในการทำงานด้วยตัวคุณเองตามหลักการง่าย ๆ ของ " D-E-V-E-L-O-P " ดังนี้
D Development ไม่หยุดยั้งการพัฒนา
E Endurance มุ่งเน้นความอดทน
V Versatile หลากหลายความสามารถ
E Energetic กระตือรือร้นอยู่เสมอ
L Love รักงานที่ทำ
O Organizing จัดการเป็นเลิศ
P Positive Thinking คิดแต่ทางบวก
Development : ไม่หยุดยั้งการพัฒนา
ผู้ที่จะประสบความสำเร็จในหน้าที่การงานได้จะต้องเป็นคนที่มีหัวใจของการพัฒนาอยู่เสมอ ไม่ว่าจะเป็นเรื่องบุคลิกลักษณะ พฤติกรรม หรือแม้แต่วิธีการทำงาน โดยต้องเป็นผู้ที่มีการสำรวจและประเมินความสามารถของตนเองอยู่ตลอดเวลา คอยตรวจสอบว่าเรามีจุดแข็งและจุดบกพร่องในด้านใดบ้างและพยายามที่จะหาทางพัฒนาจุดแข็งและปรับปรุงจุดบกพร่องของตนให้ดีขึ้น เช่น ถ้าไม่เก่งภาอังกฤษ..ซึ่งจำเป็นต้องนำมาใช้ในการทำงาน..ก็ควรขวนขวายหาโอกาสที่จะเรียนเพิ่มเติม นอกจากนี้ยังต้องเป็นคนที่ไม่ยึดติดกับวิธีการหรือขั้นตอนการทำงานแบบเดิม ๆ โดยควรจะหาเทคนิคและแนวทางใหม่ ๆ เพื่อพัฒนาการทำงานของตนเองให้ดีขึ้นและมีประสิทธิภาพมากขึ้นอยู่เสมอ
Endurance : มุ่งเน้นความอดทน
ความอดทนเป็นพลังของความสำเร็จ…อดทนต่อคำพูด อดทนต่อพฤติกรรมการดูหมิ่นหรือสบประมาท อดทนต่อความเครียดในการทำงาน…คนบางคนลาออกจากที่ทำงานเพราะเจอหัวหน้างานพูดจารุนแรง หรือเพียงแค่ถูกต่อว่าต่อหน้าที่ประชุมเท่านั้น…คุณรู้ไหมว่าการลาออกจากงานบ่อย ๆ นั้นเป็นสิ่งที่ไม่ดี เพราะเวลาคุณไปสมัครงานที่ไหนเค้าอาจจะมองว่าคุณเป็นคนไม่มีความอดทนเลยก็เป็นได้ (เสียประวัติการทำงานของคุณเอง) หากคุณต้องเผชิญกับสถานการณ์ที่เลวร้ายหรือไม่ปรารถนา ขอเพียงแต่ให้คุณมีความอดทนและอดกลั้นเข้าไว้ แล้วคุณจะสามารถเผชิญกับปัญหาต่าง ๆ ได้สำเร็จ
Versatile : หลากหลายความสามารถ
หลาย ๆ องค์กรย่อมต้องการคนที่มีความรู้ และความสามารถให้เข้ามาพัฒนาและปรับปรุงองค์กรให้ดีขึ้น…ขอให้ลองคิดดูว่าถ้าคุณเป็นเจ้าของบริษัท คุณอยากได้คนที่สามารถทำงานได้หลาย ๆ อย่าง หรือ ทำได้เฉพาะอย่างใดอย่างหนึ่ง…แน่นอนคุณคงต้องการได้คนที่มีความสามารถทำงานได้หลากหลาย ไม่ปฏิเสธหรือหลีกเลี่ยงงานที่ได้รับมอบหมายพิเศษ…ซึ่งบางคนที่หลีกเลี่ยงงาน กลัวว่าจะต้องทำงานมากกว่าคนอื่น ไม่อยากให้ใครเอาเปรียบ ไม่เคยอาสาที่จะทำงานนอกเหนือจากงานที่รับผิดชอบ…แน่นอนว่าคนกลุ่มนี้ไม่มีทางที่จะได้รับความก้าวหน้าและความสำเร็จในชีวิตการทำงานได้เลย…ดีไม่ดีกลุ่มคนเหล่านี้อาจจะเป็นกลุ่มคนแรกที่ถูกพิจารณาให้ Lay Off ก่อนก็เป็นได้ (หากองค์กรต้องเผชิญกับสภาวะการเงินที่ถดถอย)
Energetic : กระตือรือร้นอยู่เสมอ
ความสำเร็จต่าง ๆ ย่อมเกิดขึ้นได้ถ้าคุณมีความกระตือรือร้น และมีความตื่นตัวที่จะแสวงความรู้ใหม่ ๆ การรับฟังข้อมูลข่าวสาร ปัญหาและอุปสรรคต่าง ๆ ที่เกิดขึ้น พร้อมทั้งมีความมุ่งมั่นที่จะแก้ไขปัญหาและอุปสรรคให้ประสบผลสำเร็จ โดยส่วนใหญ่คนที่มีความกระตือรือร้นจะเป็นคนที่ชอบลองผิดลองถูก มาทำงานก่อนเวลาเสมอเพื่อหาโอกาสค้นคว้าข้อมูลและหาความรู้เพิ่มเติม พยายามที่จะให้งานเสร็จก่อนหรือตรงตามเวลาที่กำหนด ซึ่งแตกต่างจากคนที่ขาดความกระตือรือร้น โดยส่วนใหญ่จะเป็นคนที่ไม่อยากให้วันทำงานมาถึง รอคอยเวลาเลิกงานหรือเสร็จสิ้นสัปดาห์การทำงาน ทำงานเฉื่อย ไม่สนใจรับฟังข้อมูลข่าวสารใด ๆ เลย ขอเพียงให้งานของตนเองเสร็จเท่านั้นเพื่อที่จะได้กลับบ้านหรือไปที่ไหน ๆ ตามที่ใจปรารถนา….ซึ่งทำนายได้เลยว่า บุคคลเหล่านั้นไม่มีทางหรือมีโอกาสน้อยมากในการได้รับความสำเร็จและความก้าวหน้าในหน้าที่การงานของตน
Love : รักงานที่ทำ
ขอให้ตระหนักไว้เสมอว่า “คนเราไม่สามารถเลือกเกิดได้ แต่เราสามารถเลือกที่จะรักงานที่ทำอยู่ได้” พบว่าในยุคสมัยนี้การเลือกงานที่รักมีโอกาสเกิดขึ้นน้อยกว่าการที่จะเลือกรักงานที่ทำ ดังนั้น “หากคุณไม่สามารถเลือกงานที่รักได้ คุณก็ควรเลือกที่จะรักงานที่คุณทำ” เพราะความรู้สึกนี้เองจะส่งผลให้คุณมีความสุขกับงานของคุณ..ขอให้คุณลองถามตัวเองว่าคุณรักงานที่ทำอยู่หรือไม่ แล้วคุณมีพฤติกรรมอย่างไรหากคุณมีความรู้สึกว่าคุณไม่รักงานที่ทำอยู่เลย และผลงานที่เกิดขึ้นของคุณเป็นอย่างไรบ้าง..บางคนเบื่อหน่ายกับชีวิต..ทำงานแบบเช้าชามเย็นชาม…ไม่มีเป้าหมายในการทำงาน ซึ่งย่อมแน่นอนว่าคุณคงไม่ประสบความสำเร็จในหน้าที่การงานของคุณเลย…พื้นฐานของความสำเร็จอยู่ที่ความรักในสิ่งนั้น เมื่อคุณมีความรัก คุณจะมีความสุขกับงานที่ทำ ซึ่งจะทำให้คุณพยายามหาวิธีการต่าง ๆ เพื่อเพิ่มมูลค่าของงานที่ทำอยู่ตลอดเวลา และนั่นจะส่งผลให้คุณรู้จักวางแผนชีวิตและเป้าหมายความสำเร็จในการทำงานของคุณ
Organizing : จัดการเป็นเลิศ
การจัดการงานที่ดี จะทำให้คุณรู้ว่าควรจะทำอะไรก่อนและหลังบ้าง สามารถจัดสรรเวลาและทรัพยากรต่าง ๆ ที่มีอยู่ให้เกิดประสิทธิภาพได้อย่างเต็มที่ การจัดการจะเป็นสิ่งผลักดันให้คุณต้องวางแผนและเป้าหมายการทำงานอยู่เสมอ ทั้งนี้คุณเคยสำรวจตัวเองบ้างหรือไม่ว่า คุณมีความสับสนและไม่สามารถทำงานได้เสร็จตามแผนงานที่กำหนดไว้..ซึ่งสิ่งเหล่านี้เองจะเป็นเครื่องบ่งบอกว่าคุณขาดประสิทธิภาพในการจัดการงานของคุณ คุณไม่สามารถบริหารทรัพยากรต่าง ๆ ที่มีให้เกิดประสิทธิผลได้
Positive Thinking : คิดแต่ทางบวก
ความคิดทางบวกจะเป็นสิ่งที่ช่วยทำให้คุณมองโลกในแง่ดี มีกำลังใจและพลังที่จะทำงานต่าง ๆ ที่ได้รับมอบหมายให้ประสบผลสำเร็จ คนที่มีความคิดทางบวกจะเป็นคนที่สนุกและมีความสุขกับงานที่ทำ แสวงหาโอกาสที่จะช่วยเหลือและสนับสนุนผู้อื่นอยู่เสมอ…สำหรับผู้ที่มีความคิดในด้านลบอยู่ตลอดเวลา จะเป็นผู้ที่หมกมุ่นอยู่แต่กับปัญหา ชอบโทษตัวเองและคนรอบข้างอยู่เสมอ ขาดความคิดที่จะพัฒนาตนเองและงานที่ทำ…ในที่สุดผลงานที่ได้รับย่อมขาด ประสิทธิภาพ
ดังนั้นหากคุณต้องการที่จะเป็นผู้หนึ่งที่ประสบความสำเร็จในหน้าที่การงาน คุณควรประยุกต์ใช้หลักของการ “D-E-V-E-L-O-P“ (ไม่หยุดยั้งการพัฒนา มุ่งเน้นความอดทน หลากหลายความสามารถ กระตือรือร้นอยู่เสมอ รักงานที่ทำ จัดการเป็นเลิศ คิดแต่ทางบวก) กล่าวโดยรวมก็คือ พัฒนาตนเองอยู่เสมอทั้งในด้านความคิด ความรู้ จิตใจ และการกระทำของตัวคุณ และนั่นเองจะส่งผลให้คุณมีความก้าวหน้าและประสบผลสำเร็จในหน้าที่การงานอย่างที่ตั้งใจและมุ่งหวังไว้

บทเรียนแห่งความสำเร็จ ของ บังอร ฤทธิภักดี
บทเรียนแห่งความสำเร็จ (อ้างถึงใน URL : http://www.thaihealth.or.th) ได้ให้ความหมายว่า
ไม่นานนี้ สำนักวิชาการ ได้เชิญ “พี่แอ๋ว” บังอร ฤทธิภักดี นักต่อสู้เพื่อลดการบริโภคยาสูบ (อดีต Miss Motivated ของ สสส.) มาเติมพลังและแบ่งปันประสบการณ์การทำงานให้กับพี่ๆ น้องๆ ชาว สสส.
“บังอร ฤทธิภักดี” ชื่อนี้ย่อมไม่ธรรมดา เพราะการทำงานเคลื่อนไหวทางสังคมเพื่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในทางที่ดีขึ้นนอกจากจะต้องแลกมาด้วยหยาดเหงื่อและความอดทนแล้ว เธอยังยอมสละรายได้บางส่วน เพื่อให้มูลนิธิที่เธอทำงานสามารถไปต่อได้
บทเรียนแห่งความสำเร็จของการต่อสู้ในงานรณรงค์ชิ้นสำคัญของประเทศไทย นั่นคือ “กฎหมายควบคุมยาสูบ” ซึ่งถือเป็นเกราะสำคัญในช่วงที่ไทยถูกรุกไล่อย่างหนักของธุรกิจบุหรี่ข้ามชาติ
มาวันนี้ “พี่แอ๋ว”จึงมาร่วมแบ่งปันประสบการณ์และบทเรียนที่ได้จากการทำงานรณรงค์ให้กับชาว สสส. ไว้อย่างน่าสนใจ ว่า หากใครอยากเป็นนักรณรงค์หรือทำงานรณรงค์ให้ประสบผลสำเร็จ
คุณสมบัติในการทำงานของนักรณรงค์ สิ่งแรกที่สำคัญ คือ ต้องมี Passion หรือ “ความปรารถนา” อย่างแรงกล้า ที่ตั้งใจอยากจะผลักดันเรื่องนี้ให้เกิดขึ้น ตามด้วย “ความเชื่อว่าทุกอย่างเป็นไปได้” แต่ความเชื่ออย่างเดียวไม่เพียงพอ ต้องมี
1. องค์ความรู้ หรือข้อมูลที่ถูกสกัด และเหลาให้คม นั่นคือ ต้องรู้จักเจียระไนเพชรให้เป็น โดยรู้จักหยิบข้อมูลสำคัญนำเสนอจนฝ่ายนโยบายเห็นและเข้าใจร่วมกัน
2. วางกลยุทธ์ นั่นคือ รู้ว่าจะพูดเรื่องนี้กับใครที่มีอำนาจในการตัดสินใจ
3. พึงระลึกเสมอว่า นักรณรงค์ไม่เคยบินเดี่ยว หรือ one man show “ผู้ร่วมงาน” จึงสำคัญอย่างมาก การรักษามิตรจึงเป็นสิ่งสำคัญ และเคล็ดลับของการทำงานร่วมกับภาคีให้ยั่งยืนนั่นคือ “การให้เขาได้เครดิต และเราพร้อมที่จะอยู่ข้างหลัง” และ “เราไม่ใช่คนสั่งการ แต่เราขอความช่วยเหลือและขอความเห็นจากเขา” ดังนั้น สิ่งที่ควรระวังอย่างยิ่งคือ การสั่งให้คนทำ เมื่อเสร็จสิ้นงานแล้วก็ไร้ซึ่งเยื่อใยต่อกัน
4. การสร้างทีมงานที่เข้มแข็ง และยอมทุ่มเท
5. “รู้เขารู้เรา” โดยประเมินสถานการณ์ที่คาดว่าจะเกิดขึ้นกับอีกฝ่ายหนึ่ง และเตรียมพร้อมทางข้อมูลไว้ล่วงหน้า เพื่อนำมายืนยันหรือหักล้าง ดังนั้นการต่อสู้ด้วยข้อมูล กลยุทธ์ และเทคนิค เป็นเรื่องที่ต้องพัฒนาอยู่ตลอดเวลา และต้องมองให้ไกลถึงทางออกของเรื่อง
สำหรับคุณสมบัติสำคัญของผู้เปลี่ยนแปลงนโยบาย ที่พบเห็นคล้ายๆ กันในแต่ละประเทศ คือ ต้องมี
DONKEY ซึ่งย่อมาจาก....
D-Delicate ทุ่มเทอย่างสุดกาย
O-Organize การบริหารจัดการ
N-Network เครือข่ายที่ร่วมกันทำงาน
E-Energy พลัง
Y-Yipyup คนชอบ เจ๊าะแจ๊ะ ช่างจินตนาการ และรู้จักคิดนอกกรอบ และสร้างวิธีจูงใจให้เกิดขึ้นสำหรับการทำงานรณรงค์ นั่นคือมีความอดทนต่อสิ่งที่ไม่ดีต่ำ หรือทนไม่ได้กับสถานการณ์ที่เป็นอยู่ในขณะนี้ ซึ่งเป็นเรื่องที่เกี่ยวข้องกับเราโดยตรง
สิ่งที่ทำให้ประสบผลสำเร็จในการขับเคลื่อนทางนโยบายอย่างบรรลุเป้าหมาย นอกจากจะต้องมี "แรงจูงใจอย่างแรงกล้า” แล้ว ยังต้อง “รู้จักคิดการใหญ่” อีกด้วย
และเป้าหมายของนักรณรงค์หญิงที่กำลังขับเคลื่อนอยู่ขณะนี้ นั่นคือ การผลักดันให้เกิดกฎหมายควบคุมยาสูบในภูมิภาคอาเซียน และการผลักดันให้เกิดองค์การเช่นเดียวกับ สสส. ของประเทศไทย เพื่อให้เกิดการทำงานในระยะยาว

การสร้างความสุขในการทำงาน
การสร้างความสุขในการทำงาน (อ้างถึงใน URL : http://men.mthai.com/work/work-tips/245.html) ได้ให้ความหมายว่า
เป็นที่ทราบกันดีอยู่แล้วว่าแนวโน้มของการทํางานของในภาครัฐและภาคเอกชนของ ทุกหน่วยงานย่อมเกิดภาวะที่เจอกับมรสุมที่เป็นปัจจัยภายนอกมากระทบ เช่น การประสบ ปัญหาภาวะน้ำมันแพง ปัญหาของภัยธรรมชาติและปัจจัยทางด้านการเมืองที่ผลกระทบต่อประชาชนคนไทยซึ่ง ส่งผลให้มากระทบถึงการเมืองภายในบริษัท ด้วยเช่นกันผลกระทบ ังกล่าวย่อมส่งผลให้เกิดความเครียดในการทํางานได้เช่นกันปัจจัยที่พุ่งเป้า มาที่ผู้บริหาร เป็นอันดับแรกว่าจะนําพาองค์การให้มีความอยู่รอดอย่างไร จากปัญหาสภาวะน้ำมันแพง คําตอบคงไม่พ้น2วิธีคือการเพิ่มยอดขายให้มากขึ้นกับการลดค่าใช้จ่ายต่างๆลง เพื่อให้ องค์การมีความอยู่รอดได้
ผู้บริหารก็ได้วางกลยุทธ์เพื่อให้องค์การผ่านพ้นกับวิกฤติที่เกิดขึ้นโดยการ ใช้เครื่องมือที่เป็นที่ยอมรับของการบริหารจัดการเข้ามาใช้เช่น BSC Competency TQM และ CRM ซึ่งเครื่องมือดังกล่าวข้างต้นย่อมมีวีธีการ ระบบและตัวชี้วัดที่แตกต่างกันออกไปจากที่พนักงานเคยอยู่กันแบบสุขสบายโดย ไม่ต้องมีใครมาคอยกํากับดูแล ตรวจสอบข้อมูลเป็นประจําทุกเดือนทุกไตรมาส เมื่อผู้บริหารได้นําเครื่องมือต่างๆมาใช้แต่ไม่ได้ศึกษาความพร้อมของคนไทย ที่เคยสุขสบายมาก่อนว่าจะยอมรับเครื่องมือนั้น ได้หรือไม่จึงทําให้เครื่องมือดังกล่าวมาใช้ในเมื่องไทยไม่ค่อยประสบความ สําเร็จเท่าไรนักมักจะถูกต่อต้านจากพนักงานหรือไม่ก็ทําให้พนักงานที่เป็นคน เก่ง (Talent) ขององค์การได้เดินออกจากบริษัทเพราะว่าระบบที่นํามาใช้ไม่มีความยุติธรรมพอ มีแต่เอื้ออํานวยให้กับพวกพ้องซึ่งเป็นคนหมู่มากในองค์การเป็นผู้กุมอํานา จเชิงบริหารเสียเอง ค่านิยมที่ดีๆเริ่มเปลี่ยนไปคนที่ทํางานหนักมักไม่ได้ถูกเหลียวแลจากผู้ บริหารเพราะว่าผู้บริหารที่ถูกแต่งตั้งมาจากคนที่ไม่ได้ ทํางานอย่างแท้จริงมองระบบไม่ออกถ้าคนไหน ทํางานเกินหน้าเกินตาหน่อยก็จะถูกเพ่งเล็งจากผู้บริหารที่มีคนใกล้ชิดคอยให้ ข้อมูลที่ผิดๆอยู่ตลอดเวลา ถ้าผู้บริหารที่ฟังความข้างเดียวหรือฟังจากคนเหล่านี้ทุกวันก็อาจจะมีสิทธิ เอนเอียงมายังผู้ที่ให้ข้อมูล ซึ่งจะทําให้ตัดสินใจในการบริหารคนที่ผิดพลาดได้เช่นกัน
สําหรับผู้เขียนมีความเห็นว่าการนําเครื่องมือที่ดีๆมาใช้ในช่วงแรกเมื่อ ระบบยังไม่เข้าที่และยังไม่ลงตัวไม่สามารถให้โทษแก่ผู้กระทําความผิดได้ การบริหารคน ควรจะเน้นให้รักษาคนดีเอาไว้ก่อนเพื่อเป็นการสร้างขวัญกําลังให้กับพนักงาน ที่ทําดีเอาไว้ในองค์การ จะเห็นได้ว่าที่กล่าวมาทั้งหมดเป็นปัจจัยภายนอกที่มีผลกระทบต่อพนักงาน ถ้าจะนับรวมถึงปัจจัยภายในเข้ามาอีกซึ่งจะทําให้เกิดแรงกดดันในการทํางาน เพิ่มมากขึ้นเป็นทวีคูณในวิธีการแก้ไขในเบื้องต้นเราคงไปแก้ที่ปัจจัยทั้ง สองปัจจัยไม่ได้ต้องใช้ ระยะเวลาในการดําเนินการแก้ใขสิ่งที่ทําได้ในทันทีไม่ต้องใช้พละกําลังเวลา และอุปกรณ์เลยก็คือการแก้ไขปรับปรุงที่ตัวเราเองก่อนซึ่งจะขอนําเสนอการ สร้างความสุขในการทํางาน โดยการบริหารตนเองเพื่อไม่ให้เกิดความเเครียดดังต่อไปนี้
1. การแก้ปัญหาอย่างถูกวิธี การทํางานย่อมมีปัญหาเป็นธรรมดาอย่าแก้ปัญหาโดยการใช้อารมณ์จะทําให้เครียด มากขึ้นควรเริ่มต้นแก้ปัญหาที่สาเหตุเรียนรู้ที่จะ แก้ปัญหาอย่างเหมาะสมเพราะเมื่อแก้ปัญหาได้ก็จะสบายใจหายเครีย
2. การบริหารเวลาอย่างเหมาะสม จะช่วยให้การทํางานอย่างมี ประสิทธิภาพมีเวลาเหลือสําหรับการพักผ่อนและครอบครัวทําให้เครียด น้อยลง ควรทบทวนดูว่า ใช้เวลาแต่ละวันไปกับเรื่องใดบ้างเพื่อการจัดแบ่งเวลาให้เหมาะสมทั้งการทํา งานสังสรรค์ครอบครัวและการพักผ่อน ลองสังเกตเพื่อนร่วมงานที่บริหารเวลาได้ดีและลองทําตามดูอาจช่วยในการ ริหารเวลาของตนเองได้
3. การปรับเปลี่ยนความคิด ส่วนหนึ่งมาจากความคิดของคนเรา นั่นเองถ้าเรารู้จักปรับเปลี่ยนความคิดในแง่มุมใหม่จะช่วยให้เครียดน้อยลง ถ้ารู้สึกตัวเองคิดมาก หาทางออกไม่ได้ควรหยุดคิดสักพัก คิดให้ยืดหยุ่นมากขึ้นกว่าเดิมคิดอย่างมีเหตุผลคิดอย่างที่คนอื่นคิดและคิด ถึงคนอื่นบ้าง
4.การพักผ่อนหย่อนใจ หลังเลิกงานแล้วควรได้พักผ่อนหย่อนใจบ้างเพื่อผ่อนคลายจิตใจทําให้พร้อมที่ จะกลับไปทํางานอย่างมีประสิทธิภาพกิจกรรมพักผ่อนหย่อนใจ มีอยู่มากมายควรเลือกตรงข้ามกับงานประจําเช่นงานประจํานั่งโต?ะทั้งวันยาม ว่างควรทํากิจกรรมกลางแจ้งเคลื่อนไหวร่างกายหรืองานประจําเป็นผู้ให้บริการ ยามว่างควรให้ผู้อื่น บริการเราบ้าง
5. การรู้จักยืนยันสิทธิของตน ความเครียดอาจเกิดจากการยอมอ่อนข้อ เกรงใจผู้อื่นมากเกินไปรู้จักยืนยันสิทธิของตนเองบ้างจะทําให้เป็นตัวของตัว เองและ เป็นเกรงใจต่อผู้อื่น สิทธิที่ควรรักษาคือสิทธิที่จะปฏิเสธอย่างมีเหตุผลสิทธิที่จะทํางานด่วนของ ตนให้เสร็จก่อนสิทธิที่จะไต่ถามเพราะความไม่เข้าใจสิทธิเปลี่ยนใจเมื่อได้ ข้อมูลใหม่
6. การสร้างเข้มแข็งทางจิตใจ จิตเป็นนายกายเป็นบ่าวจิตใจที่ เข้มแข็งจะช่วยให้เอาชนะความเครียดได้ การสร้างเข้มแข็งทางจิตใจโดยสร้างความเชื่อมั่น ให้ตนเองพัฒนาปรับปรุงตัวเอง เข้าใจชีวิตว่าไม่มีอะไรแน่นอนไม่ยึดติดกับอดีตหรือกังวลกับอนาคตมากเกินไป อย่างลืมสร้างความอบอุ่นในครอบครัวเพราะครอบครัวเป็นกําลังใจ ที่สําคัญในการต่อสู้กับอุปสรรค
7. การสร้างสัมพันธ์ที่ดีกับเพื่อนร่วมงาน การที่ผู้ร่วมงานมี ความสัมพันธ์ที่ดีต่อกันร่วมมือกันในการทํางานจะทําให้เกิดความอบอุ่น มีกําลังใจและสนุกสนานกับงานมากกว่าการทํางานโดยลําพัง การสร้าง ความสัมพันธ์ที่ดีกับผู้ร่วมงานสามารถทําได้โดยเอาใจเขามาใส่ใจเราอยู่ เสมอ
8. การแสดงอารมณ์อย่างเหมาะสม การเก็บอารมณ์ที่ไม่ดีเอาไว้และการแสดงอารมณ์ที่ไม่เหมาะสมทําให้เกิดความ เครียด ควรฝึกควบคุมอารมณ์คิดก่อนทํา ทําอย่างเหมาะสมจะได้ไม่เกิดปัญหาภายหลังเมื่ออารมณ์ดีควรแสดงออกด้วยการ ยิ้มพูดเล่นฮัมเพลงเพื่อให้คน ใกล้ชิดรู้สึกดีด้วย อย่างพูดหรือทําอะไรลงไปหลบจากสถานการณ์ และหายใจลึกๆไตร่ตรองผลที่จะตามมาจะทําให้มีสติเครียดน้อยลง
9. การออกกําลังกาย เมื่อรู้สึกเครียดจากการทํางานการออกกําลังกายจนเหนื่อยและเหงื่อออกจะช่วย คลายเครียดได้ หลังเลิกงานหรือในวันหยุดควรออกกําลังกาย หรือเหล่นกีฬากับกลุ่มเพื่อนจะรู้สึกสนุกสนานและเพลิดเพลินยิ่งขึ้น การช่วยกันทํางานบ้านในวันหยุดก็ถือว่าเป็นการออกกําลังกายที่ดีและช่วย กระชับความสัมพันธ์ในครอบครัว
10.การพูดอย่างสร้างสรรค์ จะช่วยสร้างบรรยากาศที่ดีในการทํางาน สวัสดี ขอโทษ ขอบคุณเป็นประโยคที่ควรพูดติดปากแสดงถึงการมีมรรยาทและเป็นเสน่ห์แก่ผู้พูด หมั่นพูดชมเชยไต่ถามทุกข์สุขให้กําลังใจประสานความเข้าใจเพื่อลดความขัดแย้ง ในการทํางานจะช่วยตัดปัญหาลดความเครียด
กลยุทธ์ในการดำรงชีวิตให้ประสบผลสำเร็จ
กลยุทธ์ในการดำรงชีวิตให้ประสบผลสำเร็จ (อ้างถึงใน URL : http://www.rakloong.com) ได้ให้ความหมายว่า
ชีวิตที่จะประสบความสำเร็จไม่ใช่เรื่องง่าย ต้องอาศัยเคล็ดลับขั้นตอนต่าง ๆ มากมาย และเป็นความจริงที่ว่าเราเป็นผู้กำหนดชะตาชีวิตของเราเอง เป็นคนเลือกเส้นทางชีวิต และนั่นคือสิ่งที่ยากที่สุด เพราะไม่มีใครรู้ว่าเส้นทางที่กำลังเดินนั้นจะนำเราไปสู่เป้าหมายที่เราต้อง การรึเปล่า ถ้าเป็นเช่นนั้น การที่เรารู้กฎเกณฑ์การใช้ชีวิต จะช่วยให้เราได้รับประโยชน์สูงสุดจากเวลาทุก ๆ นาที เพราะกฎเหล่านี้เปรียบเสมือนแผนที่ชีวิตในการใช้เวลา เพื่อเลือกลงมือทำในสิ่งที่สำคัญตรงตามเป้าหมายในชีวิตของเรา
กฎข้อ 1 เราคือ คนเลือกที่จะเป็นผู้ประสบความสำเร็จ หรือผู้ที่ล้มเหลว
ถ้าเราสังเกตดูดี ๆ จะพบกับความจริงที่ว่า ในชีวิตเรามีเส้นทางให้เราเลือกเดินเพียง 2 ทางเท่านั้น คือ เส้นทางที่นำไปสู่ความสำเร็จ กับเส้นทางที่นำเราไปสู่ความล้มเหลว สำหรับเส้นทางสู่ความสำเร็จไม่ได้โรยด้วยกลีบกุหลาบ และไม่มีคำว่า " บังเอิญ " สำหรับความสำเร็จ แต่ต้องการอาศัยความพากเพียรอย่างหนักและต่อเนื่อง ซึ่งคนส่วนใหญ่ก็มักจะยอมแพ้เสียก่อน ดังนั้น ถ้าเราเลือกเส้นทางที่นำเราไปสู่ความสำเร็จ วิธีที่ง่ายที่สุด คือ ศึกษาว่า ผู้ที่ประสบความสำเร็จเขามีเส้นทางในการดำเนินชีวิตอย่างไร เช่น ถ้าอยากเป็นนักธุรกิจ ก็ต้องมีการศึกษาเก็บข้อมูลเกี่ยวกับธุรกิจที่เราทำอย่างละเอียดลุ่มลึก เป็นต้น สำหรับบางคนที่คิดว่าตัวเองได้พยายามแล้วแต่ก็ยังล้มเหลวอยู่ ขอให้ไตร่ตรองประเด็นที่จะกล่าวถึงอย่างละเอียด แล้วท่านเองคือผู้เลือกที่จะประสบความสำเร็จหรือล้มเหลว
ลักษณะของผู้ที่ล้มเหลว
1. มีข้อมูลน้อยเกี่ยวกับเป้าหมาย เช่น ในการนำสินค้ามาขาย จำเป็นต้องมีความรู้ด้านการตลาด รู้จักกลุ่มเป้าหมาย รู้แนวโน้มของเศรษฐกิจ เพราะถ้าขาดความรู้ ขาดข้อมูลที่ถูกต้อง ทันสมัย โอกาสที่จะล้มเหลวก็ย่อมเกิดขึ้นได้ง่าย
2. ขาดทักษะในการเข้าใจผู้อื่น ซึ่งมีกฎเกณฑ์ตายตัวที่มนุษย์ทุกคนรู้สึกเช่นเดียวกัน ดังนี้
1. สิ่งที่มนุษย์ทุกคนกลัวมากที่สุด คือ กลัวการถูกปฏิเสธ ฉะนั้นเมื่อคนที่เราต้องคบค้าติดต่อ ขออะไรแล้วเราให้ได้ยอมได้ก็ควรให้ เพื่อรักษามิตรภาพเอาไว้
2. การที่จะเข้าใจผู้อื่นได้ต้องเอาใจเขามาใส่ใจเราบ้าง
กฎข้อ 2 เราคือผู้สร้างประสบการณ์ให้ตัวเราเอง
เหตุการณ์ต่าง ๆ ที่เกิดขึ้น ไม่ว่าสถานการณ์จะเลวร้ายขนาดไหน เราก็ยังคงเป็นผู้เลือกที่จะสุขหรือทุกข์ต่อเหตุการณ์หนึ่ง ๆ ฉะนั้น ถ้าเราอยากมีความสุข เราจะไม่ปล่อยให้สถานการณ์ภายนอกควบคุมพฤติกรรม ความคิด ความรู้สึกของเรา เพราะเราคนเดียวเท่านั้นที่มีสิทธิ์เลือกที่จะ " สุข " หรือ " ทุกข์ "
ดังนั้น เราทุกคนมี เสรีภาพในการเลือก บนโลกใบนี้มีทางเลือกให้เราเลือกมากมาย แต่คนส่วนใหญ่มักคิดว่าทุกสิ่งทุกอย่างไม่มีการเปลี่ยนแปลง จึงไม่กล้าที่จะเลือกเส้นทางใหม่ ๆ สร้างประสบการณ์ใหม่ ๆ ให้ชีวิต ซึ่งความจริงแล้วเราสามารถเลือกได้ตลอด เช่น ในหนึ่งวัน เราก็เลือกได้ว่าจะไปไหน ทำอะไร ให้ความสนใจอะไร สมมติถ้าเราอยู่กับคน 100 คนเราก็เลือกได้ว่าจะเลือกไว้วางใจใคร ฟังใคร ไม่สนใจใคร จะเห็นด้วย หรือจะคัดค้านในใจ เป็นต้น
กฎข้อ 3 ปฏิกิริยาต่างตอบแทนอาจมีคนสงสัยว่า เราจะเลือกประสบการณ์ของเราได้จริง ๆหรือคำตอบก็อยู่ในกฎข้อนี้ คือ ขึ้นอยู่กับหลักต่างปฏิบัติ ต่างตอบแทนเท่าเทียมกัน เช่น เมื่อมีคนพูดจาไม่ดีกับเรา แล้วเราพูดกับเขาอย่างไร เราเลือกที่จะโต้ตอบในแบบเดียวกับเขา หรือ เลือกที่จะพูดอ่อนหวานกลับไป แน่นอนประสบการณ์ที่เราเลือก ก็คือผลจากการกระทำของเรานั่นเอง ดังนั้น ถ้ามองดี ๆ ตัวเราเองเป็นคนเชื้อเชิญปฏิกิริยาภายนอก เช่น เราไม่ยิ้มให้ เขาก็ไม่ยิ้มให้เรา เป็นต้น และแต่ละคนก็จะมีวิธีการปฏิบัติกับผู้อื่น ที่แตกต่างกันไป เพื่อช่วยให้หายสงสัยว่าทำไมโลกจึงได้ปฏิบัติกับคุณในแบบต่าง ๆ ขอยกตัวอย่างคนประเภทต่าง ๆ เช่น
• คนที่คิดว่าตัวเองสำคัญที่สุด มักจะเป็นคนไม่มีน้ำใจ ซึ่งทำให้เพื่อน ๆ ไม่ค่อยชอบ และเมื่อไหร่ที่คนประเภทนี้พบกับความทุกข์ก็จะไม่มีใครเข้ามาให้กำลัง เพราะท่านไม่เคยใส่ใจ หรือใยดีใคร
• คนที่คิดว่าตัวเองไม่ได้รับการไว้วางใจจากคนอื่น ๆ ซึ่งเป็นไปได้ว่า คนเหล่านี้ทำตัวเป็นคนอ่อนแออยู่ตลอดเวลา บ่นถึงปัญหาส่วนตัว ร้องไห้เสียใจ เมื่อคนอื่นเห็นก็เกิดความไม่ไว้วางใจ จึงไม่มอบหมายงานให้เรา เพราะพฤติกรรมของเราเองคือตัวกำหนด
• คนที่คิดว่าตัวเองไม่เคยได้รับการช่วยเหลือ คนเหล่านี้มักมีลักษณะ เป็นพวกหนีปัญหาไปวัน ๆ ใช้ชีวิตเรื่อยเปื่อย ไม่คิดแก้ปัญหาของตัวเองอย่างจริงจัง ซึ่งตามปกติคนเราจะช่วยเหลือคนที่ช่วยเหลือตัวเองอย่างที่สุดก่อน ดังนั้น ถ้าเรายังไม่สามารถดึงศักยภาพในตัวมาใช้แก้ปัญหาแบบสุด ๆ ก็อย่าหวังได้รับความช่วยเหลือจากผู้อื่น และยังใช้ชีวิตไปเรื่อยเปื่อย หรือหนีปัญหาไปวัน ๆ
กฎข้อ 4 จะแก้ไขปัญหาได้ต่อเมื่อเรายอมรับความจริงได้
ทางเดียวที่จะแก้ปัญหาได้ คือ การยอมรับว่าเกิดปัญหา ซึ่งคนส่วนใหญ่มักไม่กล้ามองปัญหา ไม่กล้ายอมรับว่าตัวเองคือสาเหตุของปัญหา นอกจากปัญหาจะไม่ได้รับการแก้ไขแล้ว ก็เหมือนยิ่งไปสร้างปมปัญหาใหม่เพิ่มขึ้นอีก ความทุกข์นั้นก็ยังแต่จะก่อให้เกิดความทุกข์ต่อไป เช่น เป็นผู้บริหารแต่ไม่ยอมรับว่า ตัวเองบริหารงานไม่เก่ง ก็ย่อมทำให้บริษัทขาดทุน แต่ถ้ายอมรับได้ ก็จะเกิดทางแก้ไข อาจไปจ้างมืออาชีพมาทำแทน เป็นต้น ดังนั้น การกล้าที่จะยอมรับความจริง คือ การเริ่มต้นแก้ปัญหา
กฎข้อ 5 ชีวิตนี้ให้รางวัลกับการกระทำเสมอมีคนจำนวนมากที่รู้สึกว่าตัวเอง เป็นนักคิดที่ชาญฉลาดแต่ทำไมชีวิตยังอยู่ห่างจากเป้าหมายที่ต้องการเหลือ เกิน นั่นเป็นเพราะ คุณไม่เคยลงมือทำ และเป็นความจริงที่ว่า โลกใบนี้ไม่สนใจคนที่มีความคิดดี แต่จะสนใจการกระทำที่ดีมากกว่า ดังนั้น ถ้าคุณมีความคิดดี ๆ เมื่อไหร่การลงมือทำ เป็นหนทางเดียวที่จะทำให้คุณได้ในสิ่งที่คุณต้องการ
สำหรับบางคนที่คิดอย่างรอบคอบแล้ว แต่ยังไม่มีแรงหรือกำลังมากพอที่จะสานฝันให้กลายเป็นจริง ทางแก้ คือ ให้ถามตัวเองทุกวันว่า ตอนนี้อายุเท่าไหร่แล้ว ? เหลือเวลาในชีวิตอีกกี่ปี ? ถ้าไม่รีบลงมือตอนนี้อาจไม่ทันการณ์ ?
และถ้าคุณคิดว่าสิ่งที่จะทำมันยาก จึงทำให้คุณเกิดความกลัว ไม่กล้าลงมือทำ แสดงว่าคุณยังขาดความเข้าใจว่า ชีวิตนี้เป็นเรื่องยาก แต่ไม่มีสิ่งใดที่ยากเกินความสามารถถ้าคุณปรารถนาสิ่งนั้นจริง ๆ
กฎข้อ 6 ทุกสิ่งทุกอย่างขึ้นอยู่กับมุมมองของเรา ให้รับรู้อย่างเดียว เราเป็นคนเลือกที่จะให้ความหมายกับชีวิตของเราเอง เพราะทุกสิ่งทุกอย่างที่เราเห็น หรือคิด เป็นเพียงสิ่งที่มนุษย์สมมติขึ้น และความทุกข์จริง ๆ ก็ไม่มี มีแต่ความคิดของเราที่ตีความเหตุการณ์ต่าง ๆ ดังนั้น ถ้าเราอยากให้ชีวิตเราเต็มไปด้วยความสุข เราก็เลือกมองแต่เรื่องดี ๆ งาม ๆ แทนการมองโลกในแง่ร้าย ซึ่งเป็นพฤติกรรมที่คนส่วนใหญ่ใช้ตีความต่อสถานการณ์ต่าง ๆ ที่เกิดขึ้น ซึ่งมีวิธีการสร้างมุมมองแบบ Positive ง่าย ๆ ดังนี้
• เขียนบันทึกสิ่งดีงามที่เกิดขึ้นกับคุณในแต่ละวัน ถึงแม้จะเป็นเรื่องเล็ก ๆ น้อย ๆ ก็ตาม เช่น ตื่นมารู้สึกดีที่วันนี้ ฝนไม่ตก เป็นต้น
• ค้นหาความหมายใหม่ ๆ ให้กับชีวิตอยู่เสมอ ๆ ซึ่งจะช่วยทำให้เรามีพลังชีวิตมากขึ้นอีกด้วย เช่น มีชีวิตอยู่เพื่อเป็นความหวังให้พ่อแม่ เป็นต้น
กฎข้อ 7 ชีวิตต้องการการบริหารจัดการจะปล่อยไปตามชะตากรรมไม่ได้ คนส่วนใหญ่มักตามแก้ปัญหาที่เกิดขึ้นในแต่ละวัน โดยมองข้ามความจริงที่ว่า ชีวิตต้องการการจัดการ ควรมีการวางแผนทั้งระยะสั้นและระยะยาว เพื่อป้องกันปัญหาไว้ล่วงหน้า ในการวางแผนเราต้องพูดคุยกับผู้จัดการชีวิตของเรา ซึ่งก็คือ ตัวเราเอง โดยการตั้งคำถามกับตัวเอง ดังนี้
• เราได้เคยค้นหาและดึงเอาศักยภาพสูงสุดของเราออกมาใช้เพื่อก่อประโยชน์หรือยัง ?
• เราเคยหาทางสร้างโอกาสใหม่ ๆ ให้กับชีวิตหรือไม่ ?
• เราเป็นคนที่อดทนต่อปัญหาอย่างเดียว หรือแก้ปัญหาได้ด้วย ?
ซึ่ง เป็นธรรมดาที่คนที่กล้าแก้ปัญหาต้องกล้าที่จะตัดสินใจและรับผิดชอบต่อผลที่ จะเกิดขึ้น จึงเป็นสาเหตุให้คนส่วนใหญ่เลือกที่จะอยู่สบาย ๆ ซึ่งก็หมายความว่า คุณเลือกที่จะเป็นผู้แพ้ แต่ถ้าคุณพอใจกับสถานะดังกล่าวก็ไม่มีใครสามารถไปเปลี่ยนแปลงคุณได้
กฎข้อ 8 พลังอำนาจของการให้อภัยในบรรดาอารมณ์ทั้งหมดของมนุษย์ ไม่ว่าจะเป็น ความรู้สึกเบื่อ ความรู้สึกน้อยเนื้อต่ำใจ เป็นต้น ความโกรธ คืออารมณ์ที่ทรงพลังและทำให้มนุษย์เป็นทุกข์มากที่สุด ซึ่งเปรียบเสมือนการจุดไฟเผาผลาญตัวเอง จะรู้สึกร้อนรนอยู่ตลอดเวลา ทำให้ผู้ที่ตกอยู่ในกองเพลิงแห่งความโกรธเกลียดอาฆาต หมดพลังงานไปอย่างเปล่าประโยชน์ ซึ่งถ้ายังไม่สามารถออกจากกองไฟแห่งความอาฆาตนี้ได้ ในที่สุดจะพบว่าคุณได้เผาผลาญโอกาสแห่งความสำเร็จของคุณหมดไปแล้ว ตอนนี้เหลือเพียงที่ว่างสำหรับความล้มเหลวเท่านั้น ดังนั้น ถ้าคุณไม่อยากทำลายชีวิตตัวเองด้วยความโกรธ ก็จงมอบความรักให้กับคนอื่น ๆ บ้าง ก็เพราะ ความอาฆาตพยาบาท เป็นสิ่งที่ละวางได้ยากมาก การให้อภัยจึงเป็นหลักการสำคัญสำหรับความเป็นผู้นำ
กฎข้อ 9 คนเราจะได้อะไรมาอย่างน้อย ๆเราต้องรู้จักสิ่งนั้นก่อน ต้องเรียกมันให้ถูกก่อนคนที่จะประสบความสำเร็จได้ขั้นแรก ต้องรู้จัดตัวเองเป็นอย่างดี จึงจะรู้ว่า ตัวเองต้องการอะไรจากชีวิต ในการสร้างอนาคตให้ตัวเอง จำเป็นต้องสร้างเป็นภาพ ต้องเห็นภาพตัวเองในอนาคตให้ได้ จึงจะรู้ว่าตัวเองต้องการอะไร ซึ่งความต้องการหรือเป้าหมายในชีวิตของแต่ละคนย่อมแตกต่างกันไป บางคนอยากเป็นนักการเมือง บางคนอยากเป็นเจ้าของโรงแรม เป็นต้น สำหรับการหาcore value มีอยู่ 2 ประเภท คือ ตามกระแส หรือทวนกระแส ทั้งนี้ ขึ้นอยู่กับแต่ละบุคคล ดังนั้น หัวใจสำคัญที่จะทำให้คนประสบความสำเร็จ คือ การรู้จักตัวเอง เพราะถ้าคุณวางแผนชีวิตอย่างดี แผนนั้นอาจทำให้คุณหลงทางเป็น สิบ ๆ ปีก็ได้ถ้าคุณขาดความเข้าใจตัวเองสิ่งที่มนุษย์ทุกคนต้องการมากที่สุด คือ ต้องการเป็นที่ยอมรับให้เกียรติจากผู้อื่น ต้องการ รู้สึกว่าตัวเองมีความสำคัญ และเคารพในความเป็นมนุษย์
. มนุษย์ทุกคนมองทุกเรื่องจากมุมมองของประโยชน์ส่วนตัว ซึ่งไม่ใช่เฉพาะเรื่องเงินทอง อาจเป็นเรื่องอุดมการณ์ ดังนั้น เมื่อเราต้องการให้ใครทำงานอะไร ต้องชี้ให้เขาเห็นว่าจะได้รับประโยชน์อะไรจากการทำงานนั้น ๆ
. มนุษย์ทุกคนจะทำงานได้เต็มที่ต่อเมื่อเข้าใจในสิ่งที่จะต้องทำ เพราะถ้าเขาไม่เข้าใจต่อให้เขาอยากทำก็ทำไม่ได้ ก่อให้เกิดความขัดข้องใจ ดังนั้น วิธีการให้งานควรบอกรายละเอียดให้ชัดเจนเพราะลูกน้องไม่ว่าจะเก่งเพียงไร ก็ไม่อาจอ่านใจเจ้านายได้ และลึก ๆ ไม่มีลูกน้องคนไหนไม่อยากให้งานออกมาไม่ดี
. เวลามองคนให้มองในเรื่องคุณภาพ มองที่ความรู้ความสามารถ เราไม่ควรมองคนแค่ภายนอกหรือชาติวงศ์ตระกูล
. คนเรามักไว้วางใจบุคคลที่รักชอบพอเรา เวลาเราไม่เกลียดใครเขาก็จะไว้วางใจเรา แต่เมื่อไหร่ที่เรารู้สึกอิจฉาริษยา อีกฝ่ายก็ไม่ไว้ใจเรา เพราะจิตอีกดวงหนึ่งสามารถรู้สึกได้ บางครั้งไม่สามารถอธิบายเป็นคำพูดได้ แต่จะมีความรู้สึกอึดอัดเกิดขึ้น
. มองคนให้ลึกถึงจิตใจ โดยใช้ความรู้สึกของเราเป็นเครื่องตรวจสอบ เพราะมนุษย์ทุกคนมีหน้ากาก หลายชั้น ดังนั้นเราไม่ควรมองคนแค่ภายนอก เพราะคนที่หน้าตายิ้มแย้มแจ่มใสพูดจาดี แต่อาจมีจิตใจโหดร้ายก็ได้หรือบางคนหน้าตาเรียบเฉย แต่ในใจเขาอาจดีก็ได้ ดังนั้น เราต้องมองคนที่จิตใจมิใช่เพียงหน้าตา



อ้างอิง
-กลยุทธ์ในการดำรงชีวิตให้ประสบผลสำเร็จ (อ้างถึงใน URL : http://www.rakloong.com) เข้าถึงเมื่อวันที่ 12 กุมภาพันธ์ 2554.
-การสร้างความสุขในการทำงาน (อ้างถึงใน URL : http://men.mthai.com/work/work-tips/245.html) เข้า ถึงเมื่อวันที่ 12 กุมภาพันธ์ 2554.
-เทคนิคการทำงานให้ประสบผลสำเร็จ (อ้างถึงใน URL :http://www.bloggang.com/mainblog.php?) เข้าถึงเมื่อวันที่ 12 กุมภาพันธ์ 2554.
-บทสัมภาษณ์แนวทางการทำงานให้ประสบผลสำเร็จ (อ้างถึงใน URL : http://www.212cafe.com/freewebboard/view.php?user=assawin2&id=45) เข้าถึงเมื่อวันที่ 11 กุมภาพันธ์ 2554.
-บทเรียนแห่งความสำเร็จ (อ้างถึงใน URL : http://www.thaihealth.or.th) เข้าถึงเมื่อวันที่ 12 กุมภาพันธ์ 2554-แนวคิดการทำงานให้ประสบผลสำเร็จ (อ้างถึงใน URL : http://www.chatvariety.com) เข้าถึงเมื่อวันที่ 11กุมภาพันธ์ 2554.
-สร้างความสำเร็จในการทำงานด้วยตัวคุณ (อ้างถึงใน URL :http://www.saf.mut.ac.th/pages) เข้าถึงเมื่อวันที่ 12 กุมภาพันธ์ 2554.

24 สิงหาคม 2552


ทฤษฎีการเรียนรู้

ทฤษฎีการเรียนรู้ (learning theory) การเรียนรู้ คือ กระบวนการที่ทำให้คนเปลี่ยนแปลงพฤติกรรม ความคิด คนสามารถเรียนได้จากการได้ยินการสัมผัส การอ่าน การใช้เทคโนโลยี การเรียนรู้ของเด็กและผู้ใหญ่จะต่างกัน เด็กจะเรียนรู้ด้วยการเรียนในห้อง การซักถาม ผู้ใหญ่มักเรียนรู้ด้วยประสบการณ์ที่มีอยู่ แต่การเรียนรู้จะเกิดขึ้นจากประสบการณ์ที่ผู้สอนนำเสนอ โดยการปฏิสัมพันธ์ระหว่างผู้สอนและผู้เรียน ผู้สอนจะเป็นผู้ที่สร้างบรรยากาศทางจิตวิทยาที่เอื้ออำนวยต่อการเรียนรู้ ที่จะให้เกิดขึ้นเป็นรูปแบบใดก็ได้เช่น ความเป็นกันเอง ความเข้มงวดกวดขัน หรือความไม่มีระเบียบวินัย สิ่งเหล่านี้ผู้สอนจะเป็นผู้สร้างเงื่อนไข และสถานการณ์เรียนรู้ให้กับผู้เรียน ดังนั้น ผู้สอนจะต้องพิจารณาเลือกรูปแบบการสอน รวมทั้งการสร้างปฏิสัมพันธ์กับผู้เรียน

ทฤษฎีที่เกี่ยวข้องกับการเรียนรู้ซึ่งแต่ละทฤษฎีมีดังนี้

1. ทฤษฎีการเรียนรู้ของ กาเย่

กาเย่ (Gagne) ได้เสนอหลักที่สำคัญเกี่ยวกับการเรียนรู้ว่า ไม่มีทฤษฎีหนึ่งหรือทฤษฎีใดสามารถอธิบายการเรียนรู้ของบุคคลได้สมบูรณ์ ดังนั้น กาเย จึงได้นำทฤษฎีการเรียนรู้แบบสิ่งเร้าและการตอบสนอง (S-R Theory) กับทฤษฎีความรู้ (Cognitive Field Theory) มาผสมผสานกันในลักษณะของการจัดลำดับการเรียนรู้ดังนี้
1. การเรียนรู้แบบสัญญาณ (Signal Learning) เป็นการเรียนรู้แบบการวางเงื่อนไข เกิดจากความใกล้ชิดของสิ่งเร้าและการกระทำซ้ำผู้เรียนไม่สามารถควบคุมพฤติกรรมของตนเอง
2. การเรียนรู้แบบการตอบสนอง (S-R Learning) คือการเรียนรู้ที่ผู้เรียนสามารถควบคุมพฤติกรรมนั้นได้การตอบสนองเป็นผลจากการเสริมแรงกับโอกาสการกระทำซ้ำ หรือฝึกฝน
3. การเรียนรู้แบบลูกโซ่ (Chaining Learning) คือการเรียนรู้อันเนื่องมาจากการเชื่อมโยงสิ่งเร้ากับการตอบสนองติดต่อกันเป็นกิจกรรมต่อเนื่องโดยเป็นพฤติกรรมที่เกี่ยวกับการเคลื่อนไหว เช่นการขับรถ การใช้เครื่องมือ
4. การเรียนรู้แบบภาษาสัมพันธ์ (Verbol Association Learning) มีลักษณะเช่นเดียวกับการเรียนรู้แบบลูกโซ่ หากแต่ใช้ภาษา หรือสัญลักษณ์แทน
5. การเรียนรู้แบบการจำแนก (Discrimination Learning) ได้แก่การเรียนรู้ที่ผู้เรียนสามารถมองเห็นความแตกต่าง สามารถเลือกตอบสนองได้
6. การเรียนรู้มโนทัศน์ (Concept Learning) ได้แก่การเรียนรู้อันเนื่องมาจากความสามารถในการตอบสนองสิ่งต่าง ๆ ในลักษณะที่เป็นส่วนรวมของสิ่งนั้น เช่นวงกลมประกอบด้วยมโนทัศน์ย่อยที่เกี่ยวกับ ส่วนโค้ง ระยะทาง ศูนย์กลาง เป็นต้น
7. การเรียนรู้กฏ(Principle Learning) เกิดจากความสามารถเชื่อมโยงมโนทัศน์ เข้าด้วยกันสามารถนำไปตั้งเป็นกฎเกณฑ์ได้
8. การเรียนรู้แบบปัญหา (Problem Solving) ได้แก่ การเรียนรู้ในระดับที่ ผู้เรียนสามารถรวมกฎเกณฑ์ รู้จักการแสวงหาความรู้ รู้จักสร้างสรรค์ นำความรู้ไปแก้ปัญหาในสถานการณ์ต่าง ๆ ได้จากลำดับการเรียนรู้นี้แสดงให้เห็นว่า พฤติกรรมการเรียนรู้แบบต้นๆ จะเป็นพื้นฐาน

2. ทฤษฎีการเรียนรู้ของ ธอร์นไดค์ (Thorndike)

1. กฎแห่งความพร้อม (Law of Readiness) หมายถึง สภาพความพร้อมหรือวุฒิภาวะของผู้เรียนทั้งทางร่างกาย อวัยวะต่างๆ ในการเรียนรู้และจิตใจ รวมทั้งพื้นฐานและประสบการณ์เดิม สภาพความพร้อมของหู ตา ประสาทสมองกล้ามเนื้อ ประสบการณ์เดิมที่จะเชื่อมโยงกับความรู้ใหม่หรือสิ่งใหม่ ตลอดจนความสนใจ ความเข้าใจต่อสิ่งที่เห็น ถ้าผู้เรียนมีความพร้อมตามองค์ประกอบต่างๆ ดังกล่าว ก็จะทำให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ได้
2. กฎแห่งการฝึกหัด(Law o f Exercise) หมายถึงการที่ผู้เรียนได้ฝึกหัดหรือกระทำซ้ำๆบ่อยๆ ย่อมจะทำให้เกิดความสมบูรณ์ถูกต้อง ซึ่งกฎนี้เป็นการเน้นความมั่นคงระหว่างการเชื่อมโยงและการตอบสนองที่ถูกต้องย่อมนำมาซึ่งความสมบูรณ์
3. กฎแห่งความพอใจ(Law of Effect) กฎนี้เป็นผลทำให้เกิดความพอใจ กล่าวคือ เมื่ออินทรีย์ได้รับความพอใจ จะทำให้หรือสิ่งเชื่อมโยงแข็งมั่นคง ในทางกลับกันหากอินทรีย์ได้รับความไม่พอใจ จะทำให้พันธะหรือสิ่งเชื่อมโยงระหว่างสิ่งเร้ากับการตอบสนองอ่อนกำลังลง หรืออาจกล่าวได้ว่า หากอินทรีย์ได้รับความพอใจจากผลการทำกิจกรรม ก็จะเกิดผลดีกับการเรียนรู้ทำให้อินทรีย์อยากเรียนรุ้เพิ่มมากขึ้นอีก ในทางตรงข้ามหากอินทรีย์ได้รับผลที่ไม่พอใจก็จะทำให้ไม่อยากเรียนรู้หรือเบื่อหน่ายและเป็นผลเสียต่อการเรียนรู้

3.
ทฤษฎีการเรียนรู้ของ โคลเลอร์

การเรียนรู้ด้วยการหยั่งรู้ ( Insight )เป็นแนวคิดของ โคท์เลอร์ ( Kohler ) ซึ่งการเรียนรู้ด้วยการหยั่งรู้นี้เป็นการอธิบายถึง กระบวนการรู้คิด ( Cognitive Processes ) ที่เกิดในระหว่างการเรียนรู้ โดยมีการเน้นความสำคัญของผู้เรียนว่าจะต้องเป็นผู้ลงมือกระทำหรือเป็นผู้ที่ริเริ่มและกระตือรือร้นการนำความรู้ทฤษฎีการหยั่งเห็นไปใช้ ในส่วนที่เกี่ยวข้องกับการเรียนการสอนมีแนวทางในการนำไปใช้ ดังนี้
1.ลักษณะของประสบการณ์การเรียนรู้ (สถานการณ์) ที่เหมาะสม โดยจัดกิจกรรมหลายรูปแบบ ให้ประสบการณ์ที่หลากหลาย ทำให้ผู้เรียนมีความรู้สะสม มีความชำนาญในการพิจารณาสถานการณ์ และปัญหา ครั้นเมื่อผู้เรียนพบปัญหาใหม่ก็จะเกิดการใคร่ครวญและจัดประสบการณ์เหล่านั้น หาคำตอบหรือวิธีการแก้ปัญหา อันจะช่วยให้เกิดการเรียนรู้โดยการหยั่งเห็นได้ คือการค้นพบวิธีการ หรือคำตอบได้ในทันทีทันใด
2.ความแตกต่างทางสติปัญญาของผู้เรียน การเรียนรู้โดยการหยั่งเห็นเป็นการใช้ประสบการณ์และความสามารถทางสติปัญญาประกอบกัน ฉะนั้นผู้มีสติปัญญาสูงย่อมมีโอกาสที่จะเกิดการหยั่งเห็นได้ดีกว่าผู้มีสติปัญญาต่ำ
3.แบบการเรียนรู้ของผู้เรียน ควรเปิดโอกาสให้ผู้เรียนได้ใช้แบบการเรียนรู้ได้หลายแบบ เพราะบางแบบเหมาะกับบางคน เมื่อผู้เรียนได้พบแบบการเรียนรู้ที่เหมาะกับตน อาจเลือกไว้เป็นแบบเฉพาะเพื่อการนำไปใช้ ผู้เรียนบางคนอาจเหมาะสมกับการเรียนรู้โดยการหยั่งเห็น บางคนอาจเหมาะสมกับการเรียนรู้โดยการกระทำ หรือบางคนอาจเหมาะกับการเรียนรู้ทางปัญญา (จากการสังเกต)
4.การรู้จักผู้เรียนอย่างแท้จริง ถ้าผู้สอนรู้จักผู้เรียนอย่างแท้จริงย่อมสามารถเลือก และจัดบทเรียน ได้เหมาะสมกับสภาพและความสามารถทางการเรียนของผู้เรียน ย่อมจะรู้ดีว่าผู้เรียนคนใดมีความสามารถทางการเรียนสูง มีความสามารถทางการเรียนต่ำ หรือผู้เรียนคนใดเหมาะสมกับสถานการณ์การเรียนรู้แบบใด เมื่อเป็นเช่นนี้ ผู้สอนสามารถที่จะส่งเสริมการเรียนรู้แก่ผู้เรียนแต่ละคนให้เกิดขึ้นได้ และย่อมเข้าใจในผลการเรียนรู้ที่เกิดขึ้นได้เป็นอย่างดี

4.
ทฤษฎีการเรียนรู้ของ บี เอฟ สกินเนอร์ B.F. Skinner

ทฤษฎีการเรียนรู้การวางเงื่อนไขการกระทำ พัฒนาขึ้นโดย บี เอฟ สกินเนอร์ (B.F. Skinner, 1904-1990) มีแนวความคิดพื้นฐานว่า พฤติกรรมของมนุษย์ตกอยู่ภายใต้การควบคุมของเงื่อนไขการเสริมแรงและ ลงโทษ การเสริมแรงมี 2 ประเภท คือ
1.การเสริมแรงทางบวก (Positive reinforcement)
2. การเสริมแรงทางลบ (Negative reinforcement) การเสริมแรงทางบวก เป็นการกระทำชนิดหนึ่งที่ทำให้เกิดความพึงพอใจกับผู้เรียนและความพึงพอใจนั้นทำให้เกิดการตอบสนองที่ต้องการมากครั้งขึ้นหรือตอบสนองอย่างเข้มข้นขึ้น เช่น การให้อาหาร คำชมเชย ของขวัญ ฯลฯ การเสริมแรงทางลบ เป็นการพยายามทำให้เกิดการตอบสนองเพิ่มขึ้น หรือเข้มข้นขึ้น โดยการกำจัดสิ่งเร้าที่ไม่พึงประสงค์ออกไป เช่น การกำจัดเสียงดัง การลดการลงโทษ การลดการดุด่า เป็นต้น
การลงโทษจะให้ผลตรงกันข้ามกับการเสริมแรง กล่าวคือ การเสริมแรงเป็นการทำให้การตอบสนองเพิ่มมากขึ้น แต่การลงโทษเป็นการทำให้การตอบสนองลดน้อยลง การลงโทษทำโดยการให้สิ่งเร้าที่ไม่พึงประสงค์หรือสิ่งเร้าที่เป็นภัย ในทันทีทันใดหลังจากการแสดงพฤติกรรมที่ไม่ดีหรือไม่ต้องการออกมา ทฤษฎีการเรียนรู้การวางเงื่อนไขแบบการกระทำนั้น พฤติกรรมหรือการตอบสนองจะขึ้นอยู่กับการเสริมแรงเป็นสำคัญ การเสริมแรง พฤติกรรมดำเนินไปอย่างซ้ำ ๆ สม่ำเสมอ พฤติกรรมการทำโทษ พฤติกรรมจะค่อย ๆ ลดลง

5.
ทฤษฎีการเรียนรู้ของ วัตสัน (John B. Watson)

วัตสัน (John B. Watson) ผู้ริเริ่มลัทธิพฤติกรรมนิยมซึ่งหลีกเลี่ยงที่จะกล่าวถึงจิตใจของมนุษย์ เขาอธิบายเรื่องจิตใจโดยเน้นการกระทำเป็นหลัก กล่าวคือพฤติกรรมของมนุษย์และสัตว์เกิดขึ้นและแปรเปลี่ยนไปตามสภาวะแวดล้อมหรือสิ่งเร้าต่างๆ ที่ถูกจัดสร้างขึ้นหรือเป็นไปตามสภาพธรรมชาติ จะช่วยให้เราสามารถควบคุมและทำนายพฤติกรรมต่างๆ ของบุคคลได้ เขาสังเกตเห็นว่าพฤติกรรมเหล่านั้นเปลี่ยนแปลงไปตามปฏิกิริยาในของอินทรีย์ซึ่งหมายถึงระบบประสาทและอวัยวะส่วนต่างๆ ของร่างกายซึ่งจะเกิดการเรียนรู้และตอบสนองตามปริมาณความเข้มของสิ่งเร้าในขณะนั้น ซึ่งถือว่าเป็นการเรียนรู้ตามประสบการณ์ ภายในร่างกายของบุคคลมีพฤติกรรมมากมายที่วัตสันอธิบายว่าเป็นเพราะการทำงานของสมองรวมทั้งระบบประสาททั้งหมดเขาพยายามที่จะจำกัดขอบเขตการศึกษาค้นคว้าวิจัยเฉพาะพฤติกรรมภายนอกและการศึกษาพฤติกรรมนี้ประกอบด้วยตัวแปร 3 ประการ คือ
1.ประสามรับสัมผัสของอินทรีย์ (organism’s receptors)
2.ประสาทสนองตอบของอินทรีย์ (organism’s effectors)
3.ระบบประสาททั้งหมด (The nervous system)

6.
ทฤษฎีการเรียนรู้ของ กัททรี (Edwin R.Guthrie)

กัททรี (Edwin R.Guthrie) เป็นผู้สนใจศึกษาทฤษฎีการเรียนรู้ตามแนวความคิดลัทธิพฤติกรรมนิยม และนิยมชมชอบคือ อธิบายพฤติกรรมการเรียนรู้ที่เป็นรูปธรรมและเป็นข้อมูลเชิงประจักษ์ เขาเชื่อว่าหลักการเรียนรู้เกี่ยวข้องกับการวางเงื่อนไขและความสัมพันธ์ระหว่างสิ่งเร้า (สภาวะแวดล้อมภายนอก) กับอินทรีย์ (สภาวะแวดล้อมภายในร่างกาย หลักการศึกษาพฤติกรรมการเรียนรู้ของกัททรี มีดังนี้
1. เมื่อสภาวะสมดุลในกระบวนการจูงใจ (Homeostasis) สูญสิ้นไปอินทรีย์จะเริ่มสร้างแรงจูงใจจะสัมพันธ์กับสภาพแวดล้อมซึ่งบุคคลเคยเรียนรู้มาแล้ว
2. พฤติกรรมทั้งหมดที่เกิดขึ้นตามสภาวะสมดุลย์ในการจูงใจจะสัมพันธ์กับสภาพแวดล้อมซึ่งบุคคลเคยเรียนรู้มาแล้ว
3. พฤติกรรมทั้งหลายของคนเราไม่ว่าจะซับซ้อนอย่างไร ก็สามารถอธิบายได้ตามลักษณะนิสัยและเหตุจูงใจตามหลักการดังกล่าวข้างต้น (ข้อ 1 และ ข้อ 2)
กัททรี ได้เน้นศึกษาพฤติกรรมการเรียนรู้ระดับโมเลกุล (Molecular Level) กับระดับ โมลาร์ (Molar Level) กล่าวคือ พฤติกรรมการเรียนรู้ระดับโมเลกุลนั้นเกิดขึ้นเชื่อมโยงกับระบบประสาทส่วนกลาง (Central Nervous System) การเกิดพฤติกรรมใหม่แต่ละครั้งเกี่ยวข้องกับการทำงานของระบบประสาทแต่ละส่วนที่กระตุ้น เช่นการกระพริบตาเมื่อถูกวางเงื่อนไขโดยการเป่าลมที่ตา ทุกครั้งที่ลูกโป่งสำหรับเป่าลมถูกยกมาบริเวณใกล้ตา ตาจะกระพริบทันที ทั้งๆ ที่ยังไม่ได้ทำการเป่าลมออกมา ส่วนพฤติกรรมโมลาร์เกี่ยวข้องกับการทำงานของกล้ามเนื้อและประสาทควบคุมการเคลื่อนไหว ซึ่งเป็นการทำงานรวมระบบสิ่งเร้าการตอบสนอง (S-R Pattern) พฤติกรรมต่างๆ จะมีลักษณะต่อเนื่องเป็นโซ่ และมีแรงจูงใจมีการเสริมแรงจึงทำให้พฤติกรรมการเรียนรู้ ทวีความเข้มอย่างเด่นชัดมากขึ้น เช่นท่าทางการเดินของแต่ละคนจะผสมกลมกลืนระบบการทำงานของกล้ามเนื้อ การสั่งงานของระบบประสาทสัมผัสกับอวัยวะมอเตอร์ตลอดจนลักษณะกริยาเดินที่เลียนแบบจากบิดามารดาเป็นต้น ผลจากการเรียนรู้พฤติกรรมการเดินจากบิดามารดา (สิ่งแวดล้อมภายนอก) รวมกับตัวบุคคลผู้นั้น (สิ่งแวดล้อมภายใน) ได้กำหนดแบบพฤติกรรมการเดินคล้ายคลึงกับต้นแบบ จึงดูเสมือนว่าเป็นการถ่ายทอดทางพันธุกรรม

7. ทฤษฎีการเรียนรู้ของ Bloom ( Bloom's Taxonomy)

Bloom ได้แบ่งการเรียนรู้เป็น 6 ระดับ
1. ความรู้ที่เกิดจากความจำ (knowledge) ซึ่งเป็นระดับล่างสุด
2. ความเข้าใจ (Comprehend)
3. การประยุกต์ (Application)
4. การวิเคราะห์ ( Analysis) สามารถแก้ปัญหา ตรวจสอบได้
5. การสังเคราะห์ ( Synthesis) สามารถนำส่วนต่างๆ มาประกอบเป็นรูปแบบใหม่ได้ให้แตกต่างจากรูปเดิม เน้นโครงสร้างใหม่
6. การประเมินค่า ( Evaluation) วัดได้ และตัดสินได้ว่าอะไรถูกหรือผิด ประกอบการตัดสินใจบนพื้นฐานของเหตุผลและเกณฑ์ที่แน่ชัด

8. ทฤษฎีการเรียนรู้ของ เมเยอร์ ( Mayor)

ในการออกแบบสื่อการเรียนการสอน การวิเคราะห์ความจำเป็นเป็นสิ่งสำคัญ และตามด้วยจุดประสงค์ของการเรียน โดยแบ่งออกเป็นย่อยๆ 3 ส่วนด้วยกัน
1. พฤติกรรม ควรชี้ชัดและสังเกตได้
2. เงื่อนไข พฤติกรรมสำเร็จได้ควรมีเงื่อนไขในการช่วยเหลือ
3. มาตรฐาน พฤติกรรมที่ได้นั้นสามารถอยู่ในเกณฑ์ที่กำหนด

9. ทฤษฎีการเรียนรู้ของ บรูเนอร์ (Bruner)

1. ความรู้ถูกสร้างหรือหล่อหลอมโดยประสบการณ์
2. ผู้เรียนมีบทบาทรับผิดชอบในการเรียน
3. ผู้เรียนเป็นผู้สร้างความหมายขึ้นมาจากแง่มุมต่างๆ
4. ผู้เรียนอยู่ในสภาพแวดล้อมที่เป็นจริง
5. ผู้เรียนเลือกเนื้อหาและกิจกรรมเอง
6. เนื้อหาควรถูกสร้างในภาพรวม

10. ทฤษฎีการเรียนรู้ของ ไทเลอร์ (Tylor)

1. ความต่อเนื่อง (continuity) หมายถึง ในวิชาทักษะ ต้องเปิดโอกาสให้มีการฝึกทักษะในกิจกรรมและประสบการณ์บ่อยๆ และต่อเนื่องกัน
2. การจัดช่วงลำดับ (sequence) หมายถึง หรือการจัดสิ่งที่มีความง่าย ไปสู่สิ่งที่มีความยาก ดังนั้นการจัดกิจกรรมและประสบการณ์ ให้มีการเรียงลำดับก่อนหลัง เพื่อให้ได้เรียนเนื้อหาที่ลึกซึ้งยิ่งขึ้น
3. บูรณาการ (integration) หมายถึง การจัดประสบการณ์จึงควรเป็นในลักษณะที่ช่วยให้ผู้เรียน ได้เพิ่มพูนความคิดเห็นและได้แสดงพฤติกรรมที่สอดคล้องกัน เนื้อหาที่เรียนเป็นการเพิ่มความสามารถทั้งหมด ของผู้เรียนที่จะได้ใช้ประสบการณ์ได้ในสถานการณ์ต่างๆ กัน ประสบการณ์การเรียนรู้ จึงเป็นแบบแผนของปฏิสัมพันธ์ (interaction) ระหว่างผู้เรียนกับสถานการณ์ที่แวดล้อม

11. ทฤษฎีการเรียนรู้ Constructivism

ความรู้ประกอบด้วยข้อมูลที่เรามีอยู่เดิม และเมื่อเราเรียนรู้ต่อไปความรู้เดิมก็จะถูกปรับเปลี่ยนไป การปรับเปลี่ยนความรู้ต่างๆ ถือว่าเป็นการรับความรู้เข้ามาและเกิดการปรับเปลี่ยนความรู้ขึ้น เด็กจะมีการคิดที่ลึกซึ้งกว่าการท่องจำธรรมดา เพียงแต่เขาจะต้องเข้าใจเกี่ยวกับความรู้ใหม่ๆ ที่ได้มา และสามารถที่จะสร้างความหมายใหม่ของความรู้ที่ได้รับมานั่นเอง
บางครั้งเราคิดว่าถ้าเรามีหลักสูตรที่ดีพอและเต็มไปด้วยข้อมูลที่สามารถให้กับผู้เรียนได้มากที่สุดเท่าที่เราจะให้ได้แล้ว ผู้เรียนก็จะสามารถเรียนรู้ได้เองและเติบโตไปเป็นผู้ที่มีการศึกษา แต่ทฤษฎี constructivism กล่าวว่าหลักสูตรอย่างนั้นไม่ได้ผล นอกจากว่าผู้เรียนได้เรียนแล้ว สามารถคิดเองและสร้างมโนภาพความคิดด้วยตนเอง ทั้งนี้ เพราะการให้แต่ข้อมูลกับผู้เรียน ไม่ได้ทำให้การเรียนรู้เกิดขึ้นได้ เพราะการเรียนรู้จะเกิดขึ้นก็ต่อเมื่อสมองของคนเรามีกระบวนการสร้างความสัมพันธ์กับสิ่งกระตุ้นแล้วนำมาทำความเข้าใจว่าเป็นอย่างไร รวมทั้งจะต้องนำมาสร้างความรู้ ความรู้สึก และมโนภาพของเราเองด้วย
ดังนั้นถ้าพูดถึงระบบการศึกษาแบบที่เน้นผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง ไม่ได้หมายความว่ามีอุปกรณ์การสอนแล้วเราละทิ้งให้ผู้เรียนเรียนไปคนเดียว แต่การศึกษาที่เน้นผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง คือ ผู้เรียนจะเป็นผู้ที่มีความสำคัญที่สุด หมายความว่าผู้เรียนจะต้องเข้าไปมีส่วนร่วมและมีปฏิสัมพันธ์กันกับสิ่งกระตุ้น สิ่งกระตุ้นในที่นี้ หมายถึง ครู ผู้สอน หรือสิ่งแวดล้อมที่จะไปกระตุ้นผู้เรียน ซึ่งเป็นสิ่งสำคัญมากที่จะช่วยชี้แนะแนวทางการคิดให้กับผู้เรียน นอกจากนี้การสร้างความสัมพันธ์ของสิ่งกระตุ้นต่างๆ จะทำให้ผู้เรียนสามารถสร้างเป็นความรู้ขึ้นในสมอง
ตัวกระตุ้นที่มีความสำคัญมากต่อการเกิดการเรียนรู้ตามทฤษฎี Constructivism คือ ความรู้เกิดจากความฉงนทางเชาวน์ปัญญา วิธีการที่เราสามารถทำให้ผู้เรียนอยากจะเรียนรู้คือมีตัวกระตุ้นที่ทำให้ผู้เรียนเกิดข้อสงสัยอยากรู้ และผู้เรียนต้องมีเป้าหมายและจุดประสงค์ที่อยากจะเรียนรู้ในเรื่องนั้นๆ ทั้งนี้เพราะว่าเวลาคนเราเกิดความสงสัยเกี่ยวกับอะไร ก็มักจะเกิดข้อคำถามที่ไม่สามารถตอบได้ขึ้นมา ซึ่งสิ่งเหล่านี้จะเป็นตัวกระตุ้น เป็นเป้าหมายที่จะทำให้ต้องเรียนรู้ เพื่อที่จะตอบคำถามนั้นให้ ได้
ดังนั้นครูจึงต้องพยายามดึงจุดประสงค์ ความต้องการ และเป้าหมายของผู้เรียนออกมาให้ได้ อาจจะโดยกำหนดหัวข้อหรือพูดคร่าวๆ ว่าเราจะศึกษาหรือเรียนรู้อะไรบ้าง เช่น ในเรื่องเกี่ยวกับการเดินทางเข้าเมือง ให้ผู้เรียนตั้งเป้าหมายว่าเขาต้องการที่จะเรียนรู้อะไร มีคำถามอะไรบ้าง ซึ่งเป้าหมายจะเป็นตัวกระตุ้นให้ผู้เรียนอยากเรียนและทำให้ผู้เรียนพยายามที่จะไปสู่เป้าหมายนั้น และมีความเข้าใจถึงสิ่งที่เกิดขึ้น
อีกกลุ่มหนึ่ง คือกลุ่มนักจิตวิทยา ได้ให้ความคิดเห็นว่าความรู้มาจากการมีปฏิสัมพันธ์กันทางสังคม จากการที่เราได้ทบทวนและสะท้อนกลับไปของความคิดเกี่ยวกับสิ่งที่เราเข้าใจ กระบวนการเรียนรู้โดยธรรมชาติ เป็นการเรียนรู้ที่มีความสัมพันธ์กันเป็นสังคม กล่าวคือ ความรู้เป็นเรื่องเกี่ยวกับสังคม ความรู้มาจากการที่คนอื่นได้แสดงออกของความคิดที่แตกต่างกันออกไป และกระตุ้นให้เราเกิดความสงสัย เกิดคำถามที่ทำให้เราอยากรู้เรื่องใหม่ๆ
ดังนั้นการเรียนรู้เป็นสิ่งที่ต้องมีสังคม ต้องดึงเอาความรู้เก่าออกมาและต้องให้ผู้เรียนคิดและแสดงออก ซึ่งจะทำได้เฉพาะกับสังคมที่มีการสนทนากัน แม้ว่าบางครั้งการสนทนาหรือการแสดงความคิดเห็นอาจจะไม่ตรงกันหรือมีความขัดแย้งกัน แต่ความขัดแย้งจะทำให้เราเกิดการพัฒนาและได้ทางเลือกใหม่จากที่คนอื่นเสนอ ฉะนั้นต้องทำให้ผู้เรียนได้แสดงออกมาว่ารู้อะไร และให้พูดคุยกันเกี่ยวกับเรื่องที่จะเรียนรู้โดยที่ครูหรือผู้สอนเป็นผู้ช่วยเหลือเขา
สิ่งสำคัญมากประการหนึ่ง คือ ครูจะต้องมีเวลากลับไปทบทวนความเข้าใจเกี่ยวกับวิธีการออกแบบชั้นเรียน และถ้าผู้เรียนสามารถสร้างวิธีการประเมินตนเองในการเรียนรู้ที่ผ่านมา ก็จะประเมินตนเองได้ว่าได้ทำอะไรเพิ่มเติมจากที่ครูประเมิน ซึ่งจะเป็นการส่งเสริมการเรียนรู้ ของเขาและสะท้อนว่าเขาได้ เรียนอะไรและทำได้ดีเพียงไร

นวัตกรรม

“ นวัตกรรม ” (Innovation) มีรากศัพท์มาจาก innovare ในภาษาลาติน แปลว่า ทำสิ่งใหม่ขึ้นมา ความหมายของนวัตกรรมในเชิงเศรษฐศาสตร์ คือ การนำแนวความคิดใหม่หรือการใช้ประโยชน์จากสิ่งที่มีอยู่แล้วมาใช้ในรูปแบบใหม่ เพื่อทำให้เกิดประโยชน์ทางเศรษฐกิจ หรือก็คือ “ การทำในสิ่งที่แตกต่างจากคนอื่น โดยอาศัยการเปลี่ยนแปลงต่าง ๆ (Change) ที่เกิดขึ้นรอบตัวเราให้กลายมาเป็นโอกาส (Opportunity) และถ่ายทอดไปสู่แนวความคิดใหม่ที่ทำให้เกิดประโยชน์ต่อตนเองและสังคม ” แนวความคิดนี้ได้ถูกพัฒนาขึ้นมาในช่วงต้นศตวรรษที่ 20 โดยจะเห็นได้จากแนวคิดของนักเศรษฐศาสตร์อุตสาหกรรม เช่น ผลงานของ Joseph Schumpeter ใน The Theory of Economic Development,1934 โดยจะเน้นไปที่การสร้างสรรค์ การวิจัยและพัฒนาทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี อันจะนำไปสู่การได้มาซึ่ง นวัตกรรมทางเทคโนโลยี (Technological Innovation) เพื่อประโยชน์ในเชิงพาณิชย์เป็นหลัก นวัตกรรมยังหมายถึงความสามารถในการเรียนรู้และนำไปปฎิบัติให้เกิดผลได้จริงอีกด้วย (พันธุ์อาจ ชัยรัตน์ , Xaap.com)
คำว่า นวัตกรรม หมายถึงการทำสิ่งต่างๆด้วยวิธีใหม่ๆ และยังอาจหมายถึงการเปลี่ยนแปลงทาง
ความคิด การผลิต กระบวนการ หรือองค์กร ไม่ว่าการเปลี่ยนนั้นจะเกิดขึ้นจากการปฏิวัติ การเปลี่ยนอย่างถอนรากถอนโคน หรือการพัฒนาต่อยอด ทั้งนี้ มักมีการแยกแยะความแตกต่างอย่างชัดเจน ระหว่างการประดิษฐ์คิดค้น ความคิดริเริ่ม และนวัตกรรม อันหมายถึงความคิดริเริ่มที่นำมาประยุกต์ใช้อย่างสัมฤทธิ์ผล (Mckeown, 2008) และในหลายสาขา เชื่อกันว่าการที่สิ่งใดสิ่งหนึ่งจะเป็นนวัตกรรมได้นั้น จะต้องมีความแปลกใหม่อย่างเห็นได้ชัด และไม่เป็นแค่เพียงการเปลี่ยนแปลงครั้งสำคัญ
ทอฟเฟอร์ ให้ความหมายของนวัตกรรมไว้ว่า นวัตกรรม เป็นการผสมผสานระหว่างเครื่องมือกล และเทคนิคต่างๆ ที่มี3ลักษณะประกอบกัน ได้แก่
1. จะต้องเป็นการสร้างสรรค์ขึ้นใหม่ (creative) และเป็นความคิดที่สามารถปฏิบัติได้
(feasible idea)
2. จะต้องสามารถนำไปใช้ได้ผลจริง
3. มีการเผยแพร่ออกสู่ชุมชน
ทิศนา แขมมณี (2528 : 418) ได้ให้ความหมายของนวัตกรรมไว้ว่า นวัตกรรม เป็นสิ่งใหม่ที่ทำขึ้นซึ่งอาจจะอยู่ในรูปความคิด หรือการกระทำหรือสิ่งประดิษฐ์ต่างๆ
สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา (2546 : 2) “นวัตกรรม” (Innovation) หมายถึง วิธีการใหม่ๆ ที่นำมาใช้ ซึ่งไม่เคยใช้ในหน่วยงานนั้นมาก่อนอาจเป็นวิธีการใหม่ที่ใช้เป็นครั้งแรก หรืออาจเป็นวิธีการใหม่ที่เคยใช้ในหน่วยงานอื่นมาก่อน
สุมิตา บุญวาส (2546 : 78) นวัตกรรม หมายถึง การวิจัยหาวัสดุ อุปกรณ์ และวิธีการใหม่ๆ หรือการปรับปรุงของเก่าให้ได้สิ่งใหม่ที่มีประสิทธิภาพกว่าเดิม
อำนวย เดชชัยศรี (2544 : 141) ให้ความหมายของนวัตกรรมไว้ว่า นวัตกรรมคือ ความใหม่และทันสมัยซึ่งถูกคนพบโดยสิ่งนั้นไม่เคยมีมาก่อนในโลกนี้เพิ่งจะมีเป็นครั้งแรก อีกประการหนึ่งสิ่งที่ถูกค้นพบถูกเก็บซ่อนไว้โดยยังไม่ผ่านกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ เมื่อนำมาทดสอบหรือทดลองก็เป็นนวัตกรรม
อัจฉรา ส้มเขียวหวาน (2549) ให้ความหมายของนวัตกรรมว่า นวัตกรรมคือ ความคิดหรือการปฏิบัติใหม่ๆที่ผิดแปลกไปจากสิ่งที่เคยปฏิบัติมาทั้งหมดหรือการเปลี่ยนแปลงบางส่วนจากสิ่งที่เคยปฏิบัติมาก่อนที่เกิดจากกระบวนการวิจัยที่ยังไม่เป็นส่วนหนึ่งของระบบงานในปัจจุบัน เพื่อจะนำมาใช้ในการปรับปรุงเปลี่ยนแปลงการดำเนินงานต่างๆให้มีประสิทธิภาพสูงยิ่งขึ้น
มอร์ตัน ได้กล่าวไว้ว่า นวัตกรรม หมายถึง การทำให้ใหม่ขึ้นอีกครั้งซึ่งหมายถึง การปรับปรุงของเก่าและพัฒนาศักยภาพของบุคลากรตลอดจนหน่วยงานหรือองค์การนั้นๆ นวัตกรรมไม่ใช้การขจัดหรือล้มล้างสิ่งเก่าให้หมดไป แต่เป็นการปรับปรุงเสริมแต่งและพัฒนาเพื่อความอยู่รอดของระบบ

เพราะฉะนั้น นวัตกรรม หมายถึง วิธีการทางความคิด ปฏิบัติ และสิ่งประดิษฐ์ใหม่ ๆ ที่ยังไม่เคยมีใช้มาก่อน หรือหรือปรับปรุงแก้ไขของเก่าให้เหมาะสม มีความทันสมัยและใช้ได้ผลดียิ่งขึ้น โดยมีการทดลองจนเป็นที่น่าเชื่อถือว่ามีผลดีในทางปฏิบัติ ซึ้งเมื่อเราได้นำเอานวัตกรรมมาใช้จะช่วยให้เรามีการทำงานที่ได้ผลดีและมีประสิทธิภาพของงานที่ดียิ่งขึ้น

นวัตกรรมทางการศึกษา

" นวัตกรรมการศึกษา (Educational Innovation ) " หมายถึง นวัตกรรมที่จะช่วยให้การศึกษา และการเรียนการสอนมีประสิทธิภาพดียิ่งขึ้น ผู้เรียนสามารถเกิดการเรียนรู้อย่างรวดเร็วมีประสิทธิผลสูงกว่าเดิม เกิดแรงจูงใจในการเรียนด้วยนวัตกรรมการศึกษา และประหยัดเวลาในการเรียนได้อีกด้วย ในปัจจุบันมีการใช้นวัตกรรมการศึกษามากมายหลายอย่าง ซึ่งมีทั้งนวัตกรรมที่ใช้กันอย่างแพร่หลายแล้ว และประเภทที่กำลังเผยแพร่ เช่น การเรียนการสอนที่ใช้คอมพิวเตอร์ช่วยสอน (Computer Aids Instruction) การใช้แผ่นวิดีทัศน์เชิงโต้ตอบ (Interactive Video) สื่อหลายมิติ ( Hypermedia ) และอินเทอร์เน็ต [Internet] เหล่านี้ เป็นต้น (วารสารออนไลน์ บรรณปัญญา.htm)
ผศ.ดร.ถนอมพร เลาหจรัสแสง ให้คำนิยาม E-Learning หรือ Electronic Learning ว่า หมายถึง "การเรียนผ่านทางสื่ออิเลคทรอนิกส์ซึ่งใช้การ นำเสนอเนื้อหาทางคอมพิวเตอร์ในรูปของสื่อมัลติมีเดียได้แก่ ข้อความอิเลคทรอนิกส์ ภาพนิ่ง ภาพกราฟิก วิดีโอ ภาพเคลื่อนไหว ภาพสามมิติฯลฯ"
คุณธิดาทิตย์ จันคนา ที่ให้ความ หมายของ e-learning หมายถึงการศึกษาที่เรียนรู้ผ่านเครือข่ายอินเตอร์เนตโดยผู้เรียนรู้จะเรียนรู้ ด้วยตัวเอง การเรียนรู้จะเป็นไปตามปัจจัยภายใต้ทฤษฎีแห่งการเรียนรู้สองประการคือ เรียนตามความรู้ความสามารถของผู้เรียนเอง และ การตอบสนองใน ความแตกต่างระหว่างบุคคล(เวลาที่แต่ละบุคคลใช้ในการเรียนรู้)การเรียนจะกระทำผ่านสื่อบนเครือข่ายอินเตอร์เนต โดยผู้สอนจะนำเสนอข้อมูลความรู้ให้ผู้เรียนได้ทำการศึกษาผ่านบริการ World Wide Web หรือเวปไซด์ โดยอาจให้มีปฏิสัมพันธ์ (สนทนา โต้ตอบ ส่งข่าวสาร) ระหว่างกัน จะที่มีการ เรียนรู้ ในสามรูปแบบคือ ผู้สอนกับ ผู้เรียน ผู้เรียนกับผู้เรียนอีกคนหนึ่ง หรือผู้เรียนหนึ่งคนกับกลุ่มของผู้เรียน ปฏิสัมพันธ์นี้สามารถ กระทำ ผ่านเครื่องมือสองลักษณะคือ
1) แบบ Real-time ได้แก่การสนทนาในลักษณะของการพิมพ์ข้อความแลกเปลี่ยนข่าวสารกัน หรือ ส่งในลักษณะของเสียง จากบริการของ Chat room
2) แบบ Non real-time ได้แก่การส่งข้อความถึงกันผ่านทางบริการ อิเลคทรอนิคเมลล์ WebBoard News-group เป็นต้น
บุญเกื้อ ครวญหาเวช (2543) กล่าวว่า นวัตกรรมการศึกษา หมายถึง เป็นการนำเอาสิ่งใหม่ๆ ซึ่งอาจอยู่ในรูปของความคิด หรือ การกระทำ รวมทั้ง สิ่งประดิษฐ์ก็ตามเข้ามาในระบบการศึกษา เพื่อมุ่งหวังที่จะเปลี่ยนแปลงสิ่งที่มีอยู่เดิม ให้ระบบการจัดการศึกษามีประสิทธิภาพยิ่ง
นวัตกรรมจัดแบ่งเป็น 2 กลุ่ม
กลุ่มที่ 1ได้แก่วิธีจัดการเรียนรู้ เทคนิคการสอนแบบต่างๆ เช่น การสอนแบบร่วมมือร่วมใจ การสอนแบบเกม การสอนโดยวิธีทางวิทยาศาสตร์ การสอนแบบโครงงาน เป็นต้น
กลุ่มที่ 2 ได้แก่สื่อการสอน หรือสื่อการเรียนรู้ สื่อสิ่งตีพิมพ์ เอกสารประกอบการสอน บทเรียนสำเร็จรูป ชุดการสอน บทเรียนการ์ตูน แบบฝึก วีดีทัศน์ คอมพิวเตอร์ช่วยสอน (CAI)
เป้าหมายของนวัตกรรมทางการศึกษา
1. เพื่อแก้ปัญหาการเรียนรู้ที่เกิดขึ้น
2. เพื่อทำให้การเรียนรู้บรรลุเป้าหมายทางการศึกษาที่วางไว้
3. เพื่อให้การจัดการศึกษามีประสิทธิภาพบรรลุเป้าหมายได้ดีขึ้น (รศ.ดร.สำลี ทองทิว คำบรรยายการประชุมสัมมนาแนวทางการพัฒนานวัตกรรมในโรงเรียน เอเชียแอร์พอร์ท เซียรังสิต ปทุมธานี)
ประโยชน์ของนวัตกรรมทางการศึกษา
1. นักเรียนเรียนรู้ได้เร็วขึ้น
2. นักเรียนเข้าใจเข้าใจบทเรียนเป็นรูปธรรม
3. บรรยากาศการเรียนสนุกสนาน
4. บทเรียนน่าสนใจ
5. ลดเวลาในการสอน
6. ประหยัดค่าใช้จ่าย

เพราฉะนั้น นวัตกรรมทางการศึกษา หมายถึง การนำเอาสิ่งใหม่ๆ โดยอาจจะอยู่ในรูปแบบของความ คิดหรือการกระทำ รวมทั้งสิ่งประดิษฐ์ที่เอาเข้ามาใช้ในระบบการศึกษา ทั้งนี้เพื่อที่จะมุ่งหวังถึงการเปลี่ยนแปลงสิ่งที่มีอยู่เดิมแล้วให้มีระบบการจัดการศึกษาอย่างมีประสิทธิภาพที่ดี

เทคโนโลยี

คำว่า “ เทคโนโลยี ” ตรงกับคำภาษาอังกฤษว่า "Technology" ซึ่งมาจากภาษากรีกว่า "Technologia" แปลว่า การกระทำที่มีระบบ อย่างไรก็ตามคำว่า เทคโนโลยี มักนิยมใช้ควบคู่กับคำว่า วิทยาศาสตร์ โดยเรียกรวม ๆ ว่า "วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี" ซึ่งพจนานุกรมฉบับ ราชบัณฑิตยสถาน (2539 : 406) ได้ให้ความหมายของเทคโนโลยี คือ วิทยาการที่เกี่ยวกับศิลปะในการนำเอาวิทยาศาสตร์ประยุกต์มาใช้ให้เกิดประโยชน์ในทางปฏิบัติและอุตสาหกรรม นอกจากนั้นยังมีผู้ให้ความหมายของเทคโนโลยีไว้หลากหลาย ดังนี้
ผดุงยศ ดวงมาลา (2523 : 16) ได้ให้ความหมายของเทคโนโลยีว่าปัจจุบันมีความหมายกว้างกว่ารากศัพท์เดิม คือ หมายถึงกิจกรรมที่เกี่ยวข้องกับเครื่องจักรกล สิ่งประดิษฐ์ใหม่ ๆ ทาง อุตสาหกรรม ถ้าในแง่ของความรู้ เทคโนโลยีจะหมายถึง ความรู้หรือศาสตร์ที่เกี่ยวกับเทคนิคการผลิตในอุตสาหกรรม และกิจกรรมอื่น ๆ ที่จะเอื้ออำนวยต่อการดำรงชีวิตของมนุษย์ หรืออาจสรุปว่า เทคโนโลยี คือ ความรู้ที่มนุษย์ใช้ทรัพยากรต่าง ๆ ให้เกิดประโยชน์แก่มนุษย์เอง ทั้งในแง่ความเป็นอยู่และการควบคุมสิ่งแวดล้อม
สิปปนนท์ เกตุทัต (ม.ป.ป. 81) อธิบายว่า เทคโนโลยี คือ การนำความรู้ทางวิทยาศาสตร์ และศาสตร์อื่น ๆ มาผสมผสานประยุกต์ เพื่อสนองเป้าหมายเฉพาะตามความต้องการของมนุษย์ด้วยการนำทรัพยากรต่าง ๆ มาใช้ในการผลิตและจำหน่ายให้ต่อเนื่องตลอดทั้งกระบวนการ เทคโนโลยีจึงมักจะมีคุณประโยชน์และเหมาะสมเฉพาะเวลาและสถานที่ และหากเทคโนโลยีนั้นสอดคล้องกับสภาพเศรษฐกิจ สังคม การเมือง วัฒนธรรม และสภาพแวดล้อม เทคโนโลยีนั้นจะเกื้อกูลเป็นประโยชน์ทั้งต่อบุคคลและส่วนรวม หากไม่สอดคล้องเทคโนโลยี นั้น ๆ จะก่อให้เกิดปัญหาตามมามหาศาล
ธรรมนูญ โรจนะบุรานนท์ (2531 : 170) กล่าวว่า เทคโนโลยี คือ ความรู้วิชาการรวมกับความรู้วิธีการ และความชำนาญที่สามารถนำไปปฏิบัติภารกิจให้มีประสิทธิภาพสูง โดยปกติเทคโนโลยีนั้นมีความรู้วิทยาศาสตร์รวมอยู่ด้วย นั้นคือวิทยาศาสตร์เป็นความรู้ เทคโนโลยีเป็นการนำความรู้ไปใช้ในทางปฏิบัติ จึงมักนิยมใช้สองคำด้วยกัน คือ วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี เพื่อเน้นให้เข้าใจว่า ทั้งสองอย่างนี้ต้องควบคู่กันไปจึงจะมีประสิทธิภาพสูง
ส่วน ชำนาญ เชาวกีรติพงศ์ (2534 : 5) ได้ให้ความหมายสั้น ๆ ว่า เทคโนโลยี หมายถึง วิชาที่ว่าด้วยการประกอบวัตถุเป็นอุตสาหกรรม หรือวิชาช่างอุตสาหกรรม หรือการนำเอาวิทยาศาสตร์มาใช้ในทางปฏิบัติจากการที่มีผู้ให้ความหมายของเทคโนโลยีไว้หลากหลาย สรุปได้ว่า เทคโนโลยี หมายถึง วิชาที่นำเอาวิทยาการทางวิทยาศาสตร์และศาสตร์อื่น ๆ มาประยุกต์ใช้ตามความต้องการของมนุษย์ เช่น โรงงานอุตสาหกรรม เป็นต้น ซึ่งพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงกล่าวถึงความหมายของเทคโนโลยีเป็นภาษาง่าย ๆ ว่า หมายถึง การรู้จักนำมาทำให้เป็นประโยชน์นั่นเอง (เย็นใจ เลาหวณิช. 2530 : 67)

เพราะฉะนั้น เทคโนโลยี หมายถึง สิ่งที่มีการพัฒนาขึ้น เพื่อช่วยในการทำงานหรือแก้ปัญหาต่าง ๆ เข่น อุปกรณ์, เครื่องมือ, เครื่องจักร, วัสดุ หรือ แม้กระทั่งที่ไม่ได้เป็นสิ่งของที่จับต้องได้ เช่น กระบวนการต่าง ๆ ซึ่งเทคโนโลยีที่เราได้นำมาประยุกต์จะเป็นเครื่องมือช่วยให้เราได้สิ่งที่ตรงตามความต้องการของเรามากที่สุด

เทคโนโลยีสารสนเทศ

“ เทคโนโลยีสารสนเทศ ” (Information Technology : IT) หมายถึง การนำเอาเทคโนโลยีมาใช้สร้างมูลค่าเพิ่มให้กับสารสนเทศ ทำให้สารสนเทศมีประโยชน์ และใช้งานได้กว้างขวางมากขึ้น เทคโนโลยีสารสนเทศรวมไปถึงการใช้เทคโนโลยีด้านต่าง ๆ ที่จะรวบรวม จัดเก็บ ใช้งาน ส่งต่อ หรือสื่อสารระหว่างกัน เทคโนโลยีสารสนเทศเกี่ยวข้องโดยตรงกับเครื่องมือเครื่องใช้ในการจัดการสารสนเทศ ซึ่งได้แก่ เครื่องคอมพิวเตอร์ และอุปกรณ์รอบข้าง ขั้นตอน วิธีการดำเนินการ ซึ่งเกี่ยวข้องกับซอฟต์แวร์ เกี่ยวข้องกับตัวข้อมูล เกี่ยวข้องกับบุคลากร เกี่ยวข้องกับกรรมวิธีการดำเนินงานเพื่อให้ข้อมูลเกิดประโยชน์สูงสุด นอกจากนี้แล้วยังรวมไปถึง โทรทัศน์ วิทยุ โทรศัพท์ โทรสาร หนังสือพิมพ์ นิตยสารต่าง ๆ เป็นต้น
ความสำคัญของเทคโนโลยีสารสนเทศ
สามารถอธิบายความสำคัญของเทคโนโลยีสารสนเทศในด้านที่มีผลกระทบต่อการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมด้านต่าง ๆ ของผู้คนไว้หลายประการดังต่อไปนี้
1. เทคโนโลยีสารสนเทศ ทำให้สังคมเปลี่ยนจากสังคมอุตสาหกรรมมาเป็นสังคมสารสนเทศ
2. เทคโนโลยีสารสนเทศทำให้ระบบเศรษฐกิจเปลี่ยนจากระบบแห่งชาติไปเป็นเศรษฐกิจโลก ที่ทำให้ระบบเศรษฐกิจของโลกผูกพันกับทุกประเทศ ความเชื่อมโยงของเครือข่ายสารสนเทศทำให้เกิดสังคมโลกาภิวัฒน์
3. เทคโนโลยีสารสนเทศทำให้องค์กรมีลักษณะผูกพัน มีการบังคับบัญชาแบบแนวราบมากขึ้น หน่วยธุรกิจมีขนาดเล็กลง และเชื่อมโยงกันกับหน่วยธุรกิจอื่นเป็นเครือข่าย การดำเนินธุรกิจมีการแข่งขันกันในด้านความเร็ว โดยอาศัยการใช้ระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ และการสื่อสารโทรคมนาคมเป็นตัวสนับสนุน เพื่อให้เกิดการแลกเปลี่ยนข้อมูลได้ง่ายและรวดเร็ว
4. เทคโนโลยีสารสนเทศเป็นเทคโนโลยีแบบสุนทรียสัมผัส และสามารถตอบสนองตามความต้องการการใช้เทคโนโลยีในรูปแบบใหม่ที่เลือกได้เอง
5. เทคโนโลยีสารสนเทศทำให้เกิดสภาพทางการทำงานแบบทุกสถานที่และทุกเวลา
6. เทคโนโลยีสารสนเทศก่อให้เกิดการวางแผนการดำเนินการระยะยาวขึ้น อีกทั้งยังทำให้วิถีการตัดสินใจ หรือเลือกทางเลือกได้ละเอียดขึ้น

เพราะฉะนั้น เทคโนโลยีสารสนเทศจึงมีบทบาทที่สำคัญในทุกวงการ มีผลต่อการเปลี่ยนแปลงโลกด้านความเป็นอยู่ สังคม เศรษฐกิจ การศึกษา การแพทย์ เกษตรกรรม อุตสาหกรรม การเมือง ตลอดจนการวิจัยและการพัฒนาต่าง ๆ

บทบาทของเทคโนโลยีสารสนเทศต่อการศึกษา

ความก้าวหน้าทางด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ทำให้มีการพัฒนาคิดค้นสิ่งอำนวยความสะดวกสบายต่อการดำชีวิตเป็นอันมาก เทคโนโลยีได้เข้ามาเสริมปัจจัยพื้นฐานการดำรงชีวิตได้เป็นอย่างดี เทคโนโลยีทำให้การสร้างที่พักอาศัยมีคุณภาพมาตรฐาน สามารถผลิตสินค้าและให้บริการต่าง ๆ เพื่อตอบสนองความต้องการของมนุษย์มากขึ้น เทคโนโลยีทำให้ระบบการผลิตสามารถผลิตสินค้าได้เป็นจำนวนมากมีราคาถูกลง สินค้าได้คุณภาพ เทคโนโลยีทำให้มีการติดต่อสื่อสารกันได้สะดวก การเดินทางเชื่อมโยงถึงกันทำให้ประชากรในโลกติดต่อรับฟังข่าวสารกันได้ตลอดเวลา
พัฒนาการของเทคโนโลยีทำให้ชีวิตความเป็นอยู่เปลี่ยนไปมาก ลองย้อนไปในอดีตโลกมีกำเนินมาประมาณ 4600 ล้านปี เชื่อกันว่าพัฒนาการตามธรรมชาติทำให้เกิดสิ่งมีชีวิตถือกำเนินบนโลกประมาณ 500 ล้านปีที่แล้ว ยุคไดโนเสาร์มีอายุอยู่ในช่วง 200 ล้านปี สิ่งมีชีวิตที่เป็นเผ่าพันธุ์มนุษย์ ค่อย ๆ พัฒนามา คาดคะเนว่าเมื่อห้าแสนปีที่แล้วมนุษย์สามารถส่งสัญญาณท่าทางสื่อสารระหว่างกันและพัฒนามาเป็นภาษา มนุษย์สามารถสร้างตัวหนังสือ และจารึกไว้ตามผนึกถ้ำ เมื่อประมาณ 5000 ปีที่แล้ว กล่าวได้ว่ามนุษย์ต้องใช้เวลานานพอสมควรในการพัฒนาตัวหนังสือที่ใช้แทนภาษาพูด และจากหลักฐานทางประวัติศาสตร์พบว่า มนุษย์สามารถจัดพิมพ์หนังสือได้เมื่อประมาณ 5000 ปีที่แล้ว กล่าวได้ว่าฐานทางประวัติศาสตร์พบว่า มนุษย์สามารถจัดพิมพ์หนังสือได้เมื่อประมาณ 500 ถึง 800 ปีที่แล้ว เทคโนโลยีเริ่มเข้ามาช่วยในการพิมพ์ ทำให้การสื่อสารด้วยข้อความและภาษาเพิ่มขึ้นมาก เทคโนโลยีพัฒนามาจนถึงการสื่อสารกัน โดยส่งข้อความเป็นเสียงทางสายโทรศัพท์ได้ประมาณร้อยกว่าปีที่แล้ว และเมื่อประมาณห้าสิบปีที่แล้ว ก็มีการส่งภาพโทรทัศน์และคอมพิวเตอร์ทำให้มีการใช้สารสนเทศในรูปแบบข่าวสารมากขึ้น ในปัจจุบันมีสถานที่วิทยุ โทรทัศน์ หนังสือพิมพ์ แ ละสื่อต่าง ๆ ที่ใช้ในการกระจ่ายข่าวสาร มีการแพร่ภาพทางโทรทัศน์ผ่านดาวเทียมเพื่อรายงานเหตุการณ์สด เห็นได้ชัดว่าเทคโนโลยีได้เข้ามามีบทบาทอย่างมาก บทบาทของการพัฒนาเทคโนโลยีรวดเร็วขึ้นเมื่อมีการพัฒนาอุปกรณ์ทางด้านคอมพิวเตอร์และส่วนประกอบ จะเห็นได้ว่าในช่วงสี่ห้าปีที่ผ่านมาจะมีผลิตภัณฑ์ใหม่ ซึ่งมีคอมพิวเตอร์เข้าไปเกี่ยวข้องให้เห็นอยู่ตลอดเวลา
ลักษณะสำคัญของเทคโนโลยีสารสนเทศ
โดยพื้นฐานของเทคโนโลยีย่อมมีประโยชน์ต่อการพัฒนาประเทศชาติให้เจริญก้าวหน้าได้ แต่เทคโนโลยีสารสนเทศเป็นเรื่องที่เกี่ยวข้องกับวิถีความเป็นอยู่ของสังคมสมัยใหม่อยู่มาก ลักษณะเด่นที่สำคัญของเทคโนโลยีสารสนเทศมีดังนี้
1. เทคโนโลยีสารสนเทศช่วยเพิ่มผลผลิต ลดต้นทุน และเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงาน ในการประกอบการทางด้านเศรษฐกิจ การค้า และการอุตสาหกรรม จำเป็นต้องหาวิธีในการเพิ่มผลผลิต ลดต้นทุน และเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงานคอมพิวเตอร์และระบบสื่อสารเข้ามาช่วยทำให้เกิดระบบอัตโนมัติ เราสามารถฝากถอนเงินสดผ่านเครื่องเอทีเอ็มได้ตลอดเวลา ธนาคารสามารถให้บริการได้ดีขึ้น ทำให้การบริการโดยรวมมีประสิทธิภาพ ในระบบการจัดการทุกแห่งต้องใช้ข้อมูลเพื่อการดำเนินการและการตัดสินใจ ระบบธุรกิจจึงใช้เครื่องมือเหล่านี้ช่วยในการทำงาน เช่น ใช้ในระบบจัดเก็บเงินสด จองตั๋วเครื่องบิน เป็นต้น
2. เทคโนโลยีสารสนเทศเปลี่ยนรูปแบบการบริการเป็นแบบกระจาย เมื่อมีการพัฒนาระบบข้อมูล และการใช้ข้อมูลได้ดี การบริการต่าง ๆ จึงเน้นรูปแบบการบริการแบบกระจาย ผู้ใช้สามารถสั่งซื้อสินค้าจากที่บ้าน สามารถสอบถามข้อมูลผ่านทางโทรศัพท์ นิสิตนักศึกษาบางมหาวิทยาลัยสามารถใช้คอมพิวเตอร์สอบถามผลสอบจากที่บ้านได้
3. เทคโนโลยีสารสนเทศเป็นสิ่งที่จำเป็น สำหรับการดำเนินการในหน่วยงานต่าง ๆ ปัจจุบันทุกหน่วยงานต่างพัฒนาระบบรวบรวมจัดเก็บข้อมูลเพื่อใข้ในองค์การประเทศไทยมีระบบทะเบียนราษฎร์ที่จัดทำด้วยระบบ ระบบเวชระเบียนในโรงพยาบาล ระบบการจัดเก็บข้อมูลภาษี ในองค์การทุกระดับเห็นความสำคัญที่จะนำเทคโนโลยีสารสนเทศมาใช้
4. เทคโนโลยีสารสนเทศเกี่ยวข้องกับคนทุกระดับ พัฒนาการด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ ทำให้ชีวิตความเป็นอยู่ของคนเกี่ยวข้องกับเทคโนโลยี ดังจะเห็นได้จาก การพิมพ์ด้วยคอมพิวเตอร์ การใช้ตารางคำนวณ และใช้อุปกรณ์สื่อสารโทรคมนาคมแบบต่าง ๆ เป็นต้น
บทบาทเทคโนโลยีสารสนเทศที่ต่อการศึกษา
ปัจจุบันผู้บริหารในการศึกษาได้นํานวัตกรรมและเทคโนโลยีสารสนเทศมาใช้และมีบทบาทความสำคัญในการบริหารจัดการศึกษากันมากขึ้น อาทิ เช่น
1. การนํานวัตกรรมและเทคโนโลยีสารสนเทศมาช่วยในการตัดสินใจ การตัดสินใจที่ดีจะต้องรวดเร็วและไม่ผิดพลาด และการตัดสินใจที่รวดเร็วและไม่ผิดพลาดนั้นจําเป็น ต้องมีข้อมูลสารสนเทศที่ เป็นปัจจุบันไม่ล้าสมัย มีจํานวนมากเพียงพอ และสามารถนํามาใช้ได้ง่ายและรวดเร็ว ซึ่งเทคโนโลยีสารสนเทศจะช่วยเรื่องนี้เป็นอย่างดี ระบบสารสนเทศที่ผู้บริหารนํามาใช้ในการตัดสินใจมีดังนี้
1.1 ระบบสารสนเทศสําหรับผู้บริหาร (Executive Systems) หรือ EIS ในบางครั้งอาจเรียกว่า “ ระบบสนับสนุนผู้บริหาร ” (Executive Support Systems) หรือ “ESS” ระบบ EISเป็นระบบที่ออกแบบและพัฒนาขึ้นมาเพื่อจัดเตรียมสารสนเทศที่เหมาะสมในการตัดสินใจของผู้บริหารระดับสูงช่วยให้ ผู้บริหารสามารถทําความเข้าใจ ปัญหาอย่างชัดเจน และสามารถตัดสินใจเลือกแนวทางแก้ปัญหาอย่างมีประสิทธิภาพ
1.2 ระบบสนับสนุนการตัดสินใจ (Decision Support) หรือ DSS ระบบ DSS เป็นระบบที่ ออกแบบและพัฒนาขึ้นมาเพื่อใช้สนับสนุนการตัดสินใจของผู้บริหารระดับกลาง ระบบDSS จะช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการตัดสินใจของผู้บริหารแต่จะไม่ทําการตัดสินใจแทนผู้บริหาร โดยประมวลผลและนําเสนอข้อมูล ที่สําคัญต่อการตัดสินใจ ตลอดจนประเมินทางเลือกที่เหมาะสมภายใต้ข้อจํากัดของแต่ละสถานการณ์ เพื่อให้ผู้บริหารใช้สติปัญญา เหตุผล ประสบการณ์ และความคิดสร้างสรรค์ของตนวิเคราะห์และเปรียบเทียบทางเลือกให้สอดคล้องกับปัญหาหรือสถานการณ์นั้นๆ
2. การนํานวัตกรรมและเทคโนโลยีสารสนเทศมาใช้ในการบริหารงานทางไกล มีการนําสื่อหลายๆอย่าง เช่น โทรศัพท์มือถือ โทรสาร วิทยุ โทรทัศน์ คอมพิวเตอร์ และเครื่องมือสื่อสารโทรคมนาคม มาใช้ในการติดต่อการสื่อสารและการบริหารงานทางไกลได้สะดวกรวดเร็ว ประหยัดเวลาและค่าใช้จ่ายเป็น อันมาก ถึงแม้จะอยู่ไกลกันก็สามารถทํางานร่วมกัน ประชุมร่วมกันได้โดยใช้ Teleconference เป็นต้น
3. การนํานวัตกรรมและเทคโนโลยีสารสนเทศมาใช้ในการบริหารสถานศึกษา ปัจจุบันสถานศึกษาหลายแห่ง พัฒนาระบบสารสนเทศ เพื่อใช้ในการบริหารงานด้านต่างๆ ทั้งการบริหารงานวิชาการ การบริหารกิจการนักเรียน การบริหารงานบุคลากร การบริหารงานธุรการ การเงิน พัสดุ ครุภัณฑ์ การบริหารงานอาคารสถานที่และการการบริหารงานชุมชน
4. การสร้างเครือข่ายข้อมูล (Network) ด้วยระบบสารสนเทศ เครือข่ายนี้จะช่วยพัฒนาคุณภาพการศึกษาไทยเป็นอันมาก ปัจจุบันมี โครงการเครือข่ายคอมพิวเตอร์โรงเรียนมัธยม (Schoolnet) ซึ่งเป็นโครงการด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ หนึ่งในหลายโครงการที่เกิดขึ้นตามพระราชดําริของสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯสยามบรมราชกุมารี โดยศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์คอมพิวเตอร์แห่งชาติ ได้นําแนวพระราชดําริมาดําเนินการร่วมกับหน่วยงานและสถานศึกษาในสังกัดกรมสามัญศึกษา(เดิม)
5. การนํานวัตกรรมเทคโนโลยีสารสนเทศมาใช้ในการจัดการศึกษา ในปัจจุบันผู้บริหาร หน่วยงานทางการศึกษานํานวัตกรรมและเทคโนโลยีสารสนเทศมาใช้ในการจัดการศึกษา เป็นประโยชน์ต่อการเรียนรู้หลายอย่าง อาทิเช่น
5.1 อินเตอร์เน็ต (Internet) เพื่อใช้ในการศึกษาหาข้อมูล ข่าวสารทางวิชาการและอื่นๆ จากที่ต่าง ๆ เป็นการส่งเสริมการเรียนรู้ตลอดชีวิต
5.2 จดหมายอิเล็กทรอนิกส์ (Electronic Mail หรือ E-mail) เพื่อใช้รับส่งข่าวสาร ข้อมูล รูปภาพ และส่งงานให้ ครูอาจารย์ตรวจ
5.3 การจัดทํา Website ของสถานศึกษา เพื่อการเผยแพร่ขาวสารของสถานศึกษา เป็นการประชาสัมพันธ์ระหว่างสถานศึกษากับ ผู้ที่เกี่ยวข้อง และบุคคลทั่วไป
5.4 การใช้โปรแกรม SPSS เพื่อการวิเคราะห์ข้อมูลต่าง ๆ ซึ่งเป็นประโยชน์ต่อการทําวิจัยในชั้นเรียนของครูอาจารย์ การทําวิจัยสถานบันของฝ่ายบริหาร และอื่น ๆ
5.5 การทํา PowerPoint เพื่อใช้ในการเรียนการสอนของครูอาจารย์ และใช้เสนอผลงานของผู้บริหารสถานศึกษา
5.6 คอมพิวเตอร์ช่วยสอน (Computer Assisted Instruction หรือ CAI) เพื่อช่วยให้ผู้เรียนเรียนรู้ด้วยตนเองจากบทเรียนสําเร็จรูปในคอมพิวเตอร์
5.7 การเรียนรู้ผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์ (Electronic Learning) หรือที่เรียกกันว่าE-Learning เป็นการเรียนทางไกลที่ผู้เรียนสามารถโต้ตอบกับผู้สอนได้ โดยอาศัยเครือข่าย อินเตอร์เน็ต จึงช่วยให้เรียนรู้ได้โดยไม่มีข้อจํากัดของเวลา ระยะทาง และสถานที่ โดยผู้เรียนจะสามารถเรียนรู้ได้ตลอดเวลาจึงตอบสนองศักยภาพการเรียนรู้ของผู้เรียนได้เป็นอย่างดี
5.8 ห้องเรียนอัจฉริยะ (Electronic Classroom หรือ E-Classroom) เป็นการจัดระบบบริหารจัดการห้องเรียน ที่ใช้การเรียนการสอนแบบ on-line และ ปฏิสัมพันธ์ (interactive) สามารถควบคุมและและตรวจสอบกิจกรรมของนักเรียนได้โดยตรงจากเครื่องคอมพิวเตอร์ของครูแบบ real time
5.9 หนังสืออิเล็กทรอนิกส์ (E-book) และ ห้องสมุดอิเล็กทรอนิกส์ (E-Library) เพื่อเสริม การเรียนการสอน และให้บริการค้นคว้าหาความรู้แก่นักเรียน ครูอาจารย์ และประชาชน
5.10 การใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร หรือ “ICT” (Information and Communication Technologies) เพื่อพัฒนาการศึกษา ปัจจุบันประเทศไทยโดยกระทรวงศึกษาธิการมีนโยบายสําคัญที่จะนําเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารมาใช้ เพื่อพัฒนาการสื่อสารในทุกด้าน โดยเฉพาะการช่วยพัฒนาครูอาจารย์ การช่วยให้เด็กและเยาวชนได้เข้าถึงแหล่งความรู้และได้เรียนอย่างทัดเทียมกัน ตลอดจนการพัฒนาระบบบริหารจัดการให้ ฉับไว มีประสิทธิภาพสูงสุด

เพราะฉะนั้น นวัตกรรมและเทคโนโลยีสารสนเทศ ก็เข้ามามีบทบาทมากขึ้น ในยุคของการปฏิรูปการศึกษา ซึ่งเราก็ต่างได้นำเอาเทคโนโลยีสารสนเทศมาใช้ประโยชน์ ในการศึกษายุคใหม่ เพื่อให้ประสบผลสําเร็จในการพัฒนาคุณภาพผู้เรียนได้อย่างดีและมีประสิทธิภาพสูงสุดแก่ผู้เรียน

สื่อการสอน

นักเทคโนโลยีหลายท่านได้ให้ความหมาย “สื่อการสอน” ดังนี้
เปรื่อง กุมุท กล่าวว่า “สื่อการสอน หมายถึง สิ่งต่างๆ ที่ใช้เป็นเครื่องมือหรือเป็นช่องทางสำหรับทำให้การสอนของครูถึงผู้เรียน และทำให้ผู้เรียนเรียนรู้ตามวัตถุประสงค์หรือจุดหมายที่ครูว่างไว้ได้เป็นอย่างดี”
ชัยยงค์ พรหมวงค์ ได้ให้ทัศนะว่า “สื่อการสอน หมายถึง วัสดุ (สิ่งสิ้นเปลือง) อุปกรณ์ ( เครื่องมือที่ใช้ผุพังได้ง่าย ) และวิธีการ ( กิจกรรม ละคร เกม การทดลอง ) ที่ใช้เป็นสื่อกลางให้ผู้สอนสามารถส่งหรือถ่ายทอดความรู้ เจตคติ ( อารมณ์ ความรู้สึก ความสนใจ ทัศนคติ และค่านิยม ) และทักษะไปยังผู้เรียนได้อย่างมีประสิทธิภาพ ”
อธิพร ศรียมก กล่าวว่า สื่อการสอน หมายถึงอะไรก็ได้ (ที่ไม่ใช่ครูพูดปากเปล่าเพียงอย่างเดียว ) ที่ทำให้การเรียนการสอนเป็นไปอย่างน่าสนใจ สนุกตื่นเต้น และทำให้เกิดประสิทธิภาพในการเรียนการสอน
ส่วน บราวน์ และคนอื่นๆ ได้ให้ความหมายว่า สื่อการสอน ได้แก่ อุปกรณ์ทั้งหลายที่ช่วยเสนอความรู้ให้แก่ผู้เรียนจนเกินผลการเรียนที่ดี ทั้งนี้มีความหมายรวมถึงกิจกรรมต่างๆ ที่ไม่เฉพาะแต่สิ่งที่เป็นวัตถุหรือเครื่องมือเท่านั้น เช่น การศึกษานอกสถานที่ การแสดงบทบาท การสาธิต การทดลอง ตลอดจนการสัมภาษณ์ และการสำรวจ เป็นต้น

เพราฉะนั้น สื่อการสอน คือ สิ่งใดก็ตามที่เป็นตัวกลางในการเรียนการสอน ซึ่ง ไม่ว่าจะเป็นวัสดุ วิธีการ เจตคติ และทักษะกระบวนการที่จะนำเอาความรู้ไปสู่ผู้เรียน โดยทำให้ผู้เรียนสามารถเรียนรู้ได้ตามวัตถุประสงค์ที่กำหนดไว้ได้เป็นอย่างดี

สื่อประสม

ชัยยงค์ พรหมวงศ์ ให้ความหมายว่า “สื่อประสม เป็นการนำสื่อการสอนหลายอย่างมาสัมพันธ์กันเพื่อถ่ายทอดเนื้อหาสาระ ในลักษณะที่สื่อแต่ละชิ้นส่งเสริมสนับสนุนกันและกัน”
และอีริคสัน ได้แสดงความหมายว่า “สื่อประสม หมายถึง การนำสิ่งหลายๆ อย่างมาใช้ร่วมกันอย่างมีความสัมพันธ์ มีคุณค่าและส่งเสริมซึ่งกันและกัน สื่อการสอนอย่างหนึ่งอาจใช้เพื่อเร้าความสนใจ ในขณะที่อีกอย่างหนึ่งใช้เพื่ออธิบายข้อเท็จจริงของเนื้อหา และอีกชนิดหนึ่งอาจใช้เพื่อก่อให้เกิดความสนใจที่ลึกซึ้ง และป้องกันการเข้าใจความหมายผิดๆ การใช้สื่อประสมจะช่วยให้ผู้เรียนมีประสบการจากประสาทสัมผัสที่ผสมผสานกัน ได้ค้นพบวิธีการที่จะเรียนในสิ่งที่ต้องการได้ด้วยตนเองมากยิ่งขึ้น”
การนำสื่อประสมมาใช้ในกระบวนการเรียนการสอนอาจอยู่ในลักษณะเป็นชุด ถ้าออกแบบมาใช้ในการเรียนการสอนเฉพาะเรื่องหนึ่งเพียงเรื่องเดียว เรียกว่า “ชุดการสอน (Package)” บางครั้งก็ออกแบบมาเพื่อใช้ในการเรียนการสอนได้หลายเรื่องเรียกว่า “ชุดอุปกรณ์หรือชุดเครื่องมือ (Kit)”
ดังนั้น อาจกล่าวได้ว่า สื่อการสอนแต่ละชนิดมีทั้งส่วนเด่นและส่วนด้อยแตกต่างกันไปหรือเรียกว่า สื่อแต่ละชนิดมี “ลักษณะเด่นเฉพาะ” ไม่สามารถจะบอกได้ว่าสื่อชนิดใดดีกว่าหรือด้อยกว่า โดยที่ยังไม่ได้พิจารณาในด้านอื่นๆ ประกอบ สื่อการสอนที่ดีจะต้องเหมาะสมกับวัยของผู้เรียน สถานที่เรียน ระยะเวลาหรือช่วงเวลาที่กำหนด กิจกรรมการเรียนการสอน ตลอดจนสภาพแวดล้อมต่างๆ เปรียบเสมือนอาวุธหลายๆ ชนิด หลายๆ ประเภท เช่น ขวาน ดาบ เลื่อน มีดสับหมู มีดบาง มีดแกะสลัก มีดคว้าน เป็นต้น เราไม่สามารถจะบอกได้ว่า ขวานดีกว่ามีดสับหมู หรือมีดบางดีกว่ามีดกะสลัก ขึ้นกับว่าจะใช้อาวุธเหล่านี้กับงานประเภทใด จึงจะได้ผลดีตรงตามความต้องการก็นับได้ว่า สิ่งนั้นดีที่สุด ในสถานการณ์นั้น ในสถานการณ์นั้นๆ
การใช้สื่อประสมก็ยึดหลักดังกล่าวข้างต้น เพียงการบรรยายหรือสื่อคำพูดประกอบการเขียนบนกระดานชอล์ก (Talk and Chalk ) ไม่สามารถเสนอเนื้อหา ความรู้หรือเรื่องราวได้ทุกเรื่อง จึงต้องอาศัยส่วนเด่นของสื่อการสอนแต่ละชนิดมาใช้ร่วมกัน เพื่อสนับสนุนและส่งเสริมซึ่งกันและกัน จึงจะเป็นประโยชน์อย่างเต็มที่ต่อการเรียนการสอนนั้น แต่การพิจารณานำสื่อแต่ละชนิดมาใช้ร่วมกันจะต้องตระหนักว่าสื่อแต่ละชนิดจะต้องไม่เสนอมโนทัศน์หรือสาระของเนื้อหาซ้ำซ้อนกัน และพึงระวังในการใช้สื่อการสอนมากมายเกินความจำเป็น จะก่อให้เกิดความสับสนวุ่นวาย การใช้สื่อแต่ละชนิดจึงต้องมีเหตุผลเพียงพอ

เพราฉะนั้น สื่อประสม คือ การนำเอาสื่อหลายๆ ประเภทมาประสมใช้ในกระบวนการเรียนการสอนเพื่อให้เกิดประสิทธิภาพและประสิทธิผลสูงสุดในการเรียนการสอน โดยการใช้สื่อแต่ละอย่าง ตามลำดับขั้นตอนความถูกต้องและเหมาะสมตรงตามเนื้อหาการเรียนนั้นๆ

รูปแบบของสื่อหลายมิติในการเรียนการสอน

ความหมาย สื่อหลายมิตินั้นเป็นสื่อประสมที่พัฒนามาจากข้อความหลายมิติ ซึ่งแนวความคิดเกี่ยวกับข้อ ความหลายมิติ (hypertext) นี้มีมานานหลายสิบปีแล้ว โดย แวนนิวาร์ บุช (Vannevar Bush) เป็นผู้ ที่มีความคิดริเริ่มเกี่ยวกับเรื่องนี้ โดยเขากล่าวว่าน่าจะมีเครื่องมืออะไรสักอย่างที่ช่วยในเรื่อง ความจำและความคิดของมนุษย์ที่จะช่วยให้เราสามารถสืบค้นและเรียกใช้ข้อมูลจากคอมพิวเตอร์ได้ หลาย ๆ ข้อมูลในเวลาเดียวกันเหมือนกับที่คนเราสามารถคิดเรื่องต่าง ๆ ได้หลายเรื่องในเวลาเดียวกัน
น้ำทิพย์ วิภาวิน กล่าวไว้ว่า สื่อหลายมิติ (Hypermedia) เป็นเทคนิคที่ต้องการใช้สื่อผสม อื่น ๆ ที่คอมพิวเตอร์สามารถนำเสนอได้ในรูปแบบต่าง ๆ ได้ทั้งข้อความ เสียง ภาพนิ่ง และภาพ เคลื่อนไหว
วิเศษศักดิ์ โคตรอาชา กล่าวว่า สื่อหลายมิติ Hypermedia เป็นการขยายแนวความคิดจาก Hypertext อันเป็นผลมาจากพัฒนาการของเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ที่สามารถผสมผสานสื่อและอุปกรณ์หลายอย่างให้ทำงานไปด้วยกัน
กิดานันท์ มลิทอง กล่าวไว้ว่า สื่อหลายมิติ เป็นการขยายแนวความคิดของข้อความหลายมิติ ในเรื่องของการเสนอข้อมูลในลักษณะไม่เป็นเส้นตรง และเพิ่มความสามารถในการบรรจุข้อมูลในลักษณะของภาพเคลื่อนไหวแบบวีดิทัศน์ ภาพกราฟิคในลักษณะภาพนิ่ง ภาพเคลื่อนไหว ภาพถ่าย เสียงพูด เสียงดนตรีเข้าไว้ในเนื้อหาด้วย เพื่อให้ผู้เรียนสามารถเข้าถึงเนื้อหาเรื่องราวในลักษณะ ต่าง ๆ ได้หลายรูปแบบกว่าเดิม
จากแนวคิดดังกล่าว เท็ด เนลสัน และดั๊ก เอนเจลบาร์ต ได้นำแนวคิดนี้มาขยายเป็นรูปเป็น ร่างขึ้น โดยการเขียนบทความหรือเนื้อหาต่าง ๆ กระโดยข้ามไปมาได้ในลักษณะที่ไม่เรียงลำดับเป็น เส้นตรงอย่างต่อเนื่อง ซึ่งต่อมาเรียกกันว่า ไฮเพอร์เท็กซ์หรือข้อความหลายมิติ โดยการใช้ คอมพิวเตอร์ช่วย แนวคิดเริ่มแรกของสื่อหลายมิติคือความต้องการเครื่องมือช่วยในการคิดหรือการ จำที่ไม่ต้องเรียงลำดับ และสามารถคิดได้หลายอย่างในเวลาเดียวกัน

เพราะฉะนั้น สื่อหลายมิติ (hypermedia) มีความหมายเหมือนมัลติมีเดีย (mulltimedia) หรือบางครั้งก็เรียกว่า ไฮเปอร์เทกซ์ (hypertext) ซึ่งก็คือการผสมผสานของข้อความ - ภาพ - เสียง และวีดิทัศน์ (video) ในการเสนอเรื่องราวต่าง ๆ เพื่อให้เกิดความตื่นเต้นเร้าใจ ฯ

สื่อหลายมิติแบบปรับตัว (Adaptive Hypermedia)

ปัจจุบัน สื่อหลายมิติได้มีการพัฒนาโดยผสมผสานเทคนิคและเทคโนโลยีที่ทันสมัยไปอย่างรวดเร็ว ทั้งนี้แนวทางในการพัฒนาสื่อหลายมิติโดยทั่วไปนั้น ส่วนใหญ่เป็นการผสมผสานสื่อหลากหลายชนิดและเชื่อมโยงไปสู่แหล่งข้อมูลอื่นที่น่าสนใจ ซึ่งไม่สามารถตอบสนองความต้องการของผู้เรียนเป็นรายบุคคลได้ จนกระทั่งเกิดการคิดหาวิธีและพัฒนาไปสู่แนวทางใหม่ของสื่อหลายมิติ ที่เรียกว่า “ สื่อหลายมิติแบบปรับตัว (Adaptive Hypermedia) ” หมายถึง ความสัมพันธ์กัน ระหว่างสื่อหลายมิติกับรูปแบบการเรียนรู้ของผู้เรียน ซึ่งปกติสื่อหลายมิติจะนำเสนอข้อมูลสารสนเทศที่เป็นเนื้อหา ลิงค์ หรือสื่ออื่นๆ ที่ออกแบบสำหรับผู้เรียนทุกคน แต่ในความเป็นจริงแล้วผู้เรียนแต่ละคนมีความต้องการที่แตกต่างกันในการรับข้อมูลจากสื่อหลายมิติ ดังนั้นสื่อหลายมิติแบบปรับตัวจึงเป็นการผสมผสานระหว่างสื่อหลายมิติและระบบการสอนที่ฉลาดในการตอบสนองผู้เรียนแต่ละคน (Petr Stengl, Ivan Jelinek. 2006 ) โดยสื่อหลายมิติแบบปรับตัวเป็นการพยายามที่จะพัฒนารูปแบบ (Model) ให้สามารถปรับตัวและตอบสนองผู้เรียนเป็นรายบุคคล เช่น ระบบจะเลือกข้อมูลสารสนเทศเกี่ยวกับผู้เรียนแต่ละคนในแฟ้มข้อมูลที่มีอยู่ เช่น ความรู้ ประสบการณ์ รูปแบบการเรียนรู้ หรือข้อมูลอ้างอิงอื่นๆ และสามารถปรับเปลี่ยนระบบให้ตอบสนองตรงตามความต้องการสำหรับผู้เรียนแต่ละคน ซึ่งจะช่วยให้ผู้เรียนสามารถค้นหาข้อมูลสารสนเทศตรงตามวัตถุประสงค์ที่ต้องการได้อย่างถูกต้องและแม่นยำ (De La Passardiere, Dufresne.1992 ) ทั้งนี้สื่อหลายมิติที่ได้รับการออกแบบอย่างถูกต้องและเป็นระบบจะช่วยตอบสนองให้เกิดการเรียนรู้ได้ตามความสามารถและความต้องการของผู้เรียน เป็นการดึงดูดความสนใจของผู้เรียนและสนับสนุนการจัดการเรียนการสอนแบบรายบุคคลและส่งเสริมให้ผู้เรียนสามารถพัฒนาตามศักยภาพ ได้ โดยแบ่งออกเป็น 3 องค์ประกอบหลัก คือ 1) รูปแบบหลัก (domain model -DM) 2) รูปแบบผู้เรียน (student model -SM) 3) รูปแบบการปรับตัว (Adaptive Model - AM ) โดยผ่านการติดต่อระหว่างผู้เรียนกับคอมพิวเตอร์หรือระบบ (Interface) ผ่านแบบฟอร์มจากเว็บบราวเซอร์ เช่น Internet Explorer เป็นต้น
1. รูปแบบหลัก (Domain Model: DM) เป็นรูปแบบโครงสร้างหลักของข้อมูลสารสนเทศทั้งหมดที่นำเสนอให้แก่ผู้เรียน โดยรูปแบบหลัก (DM) เปรียบเสมือนคลังของข้อมูลไม่ว่าจะเป็น เนื้อหา ประวัติหรือแฟ้มข้อมูลของผู้เรียน และรูปแบบการนำเสนอข้อมูล เป็นต้น โดยรูปแบบหลัก จะเป็นการออกแบบโครงสร้างของข้อมูลที่นำเสนอที่มีความสัมพันธ์ของการออกแบบหัวข้อ (Topics) เนื้อหา (Content) และหน้าต่างๆ (Pages) กับการเชื่อมโยงลิงค์ในการนำทาง (Navigation Links) โดยในส่วนของระบบจะประกอบด้วยกลุ่มของโหนด (Node) หรือหน้า (page) ซึ่งเชื่อมต่อ กัน โดยแต่ละโหนดหรือหน้าจะ บรรจุข้อมูลเนื้อหาซึ่งอาจมีเฉพาะข้อความหรือมีภาพและเสียงประกอบด้วย เป็นต้น ทั้งนี้รูปแบบหลัก (DM) จะให้ความสำคัญกับการออกแบบโครงสร้างของสื่อหลายมิติที่ เหมาะสมกับความต้องการและลักษณะของผู้เรียนแต่ละคน เพื่อให้ผู้เรียนมีความสะดวกในการค้นหาข้อมูลหรือหัวข้อที่ต้องการ โดยการออกแบบที่ดีควรจะต้องวางโครงสร้างให้มีความสมดุล มีการเชื่อมต่อสัมพันธ์กันระหว่างรายการ (Menu) กับหน้าเนื้อหาอื่นๆ รวมถึงการเชื่อมโยงไปยังสื่อมัลติมีเดียที่นำเสนอ ไม่ว่าจะเป็น รูปภาพ ข้อความ วีดิทัศน์ ภาพเคลื่อนไหว เสียง ฯลฯ โดยรูปแบบหลักจะเป็นการวางแผนโครงสร้างเพื่อป้องกันอุปสรรคที่จะเกิดต่อผู้ใช้ เช่น การหลงทางของผู้ใช้ ในขณะเข้าสู่เนื้อหาในจุดร่วม (Node) ต่างๆ เป็นต้น (Lynch and Horton, 1999) ลักษณะโครงสร้างของสื่อหลายมิติ โดยทั่วไปแบ่งออกเป็น 3 แบบ เพื่อการจัดเก็บและเรียกเอาข้อมูลที่ต้องการขึ้นมาได้สะดวกและรวดเร็ว ดังนี้ (Yang and More, 1995)
1.1 แบบไม่มีโครงสร้าง (Unstructured) เป็นแบบที่ไม่มีโครงสร้างความรู้ ผู้เรียนต้องเปิดเข้าไปโดยมีการเชื่อมโยงระหว่างหน้าจอแต่ละเรื่อง มีความยืดหยุ่นสูงสุดของการจัดรวบรวม เป็นการให้ผู้เรียนได้กำหนดความก้าวหน้าและตอบสนองความสำเร็จด้วยตนเอง
1.2 แบบเป็นลำดับขั้น ( Hierarchical) เป็นการกำหนดการจัดเก็บความรู้เป็นลำดับขั้น มีโครงสร้างเป็นลำดับขั้นแบบต้นไม้ โดยให้ผู้เรียนได้ค้นคว้าไปทีละขั้นได้ทั้งจากบนลงล่างและจากล่างขึ้นบน โดยมีระบบข้อมูลและรายการคอยบอก
1.3 แบบเครือข่าย (Network) เป็นการเชื่อมโยงระหว่างจุดร่วมของฐานความรู้ต่างๆ ที่ เกี่ยวข้องสัมพันธ์กัน ความซับซ้อนของเครือข่ายพึ่งพาความสัมพันธ์ระหว่างจุดร่วมต่างๆ ที่มีอยู่
การออกแบบโครงสร้างของข้อมูลสารสนเทศที่ดีจะช่วยส่งผลต่อผู้เรียนเพราะข้อมูลที่มีอยู่มากมายนั้นต้องอาศัยการเชื่อมโยงเนื้อหา หรือการจัดระเบียบของเนื้อหาให้กับการสืบค้นภายในบทเรียน การจัดระเบียบที่ดีจะช่วยให้ผู้เรียนมีความรู้และเกิดประสบการณ์ที่ดีในการเรียนด้วยในขณะเดียวกันโครงสร้างที่ไม่เหมาะสมก็ย่อมส่งผลเสียต่อผู้ใช้เช่นกัน
2. รูปแบบของผู้เรียน (Student Model: SM) เป็นการออกแบบระบบที่ให้ความสำคัญกับรูปแบบการเรียนรู้และคุณลักษณะของผู้เรียนแต่ละคนที่เหมาะสมกับข้อมูลสารสนเทศและเนื้อหาที่นำเสนอเพื่อการตอบสนองแบบรายบุคคล ซึ่งเป็นหลักการสำคัญของสื่อหลายมิติแบบปรับตัว โดยรูปแบบของผู้เรียนอาจแบ่งแยกคุณลักษณะของผู้เรียนออกเป็น ระดับความรู้ความสามารถ รูปแบบการเรียนรู้ ประสบการณ์ และข้อมูลอ้างอิงของผู้เรียนต่างๆ รวมทั้งการวิเคราะห์วัตถุประสงค์การเรียนรู้ในแต่ละรายวิชา ทั้งนี้ลักษณะของผู้เรียนแต่ละคนที่แตกต่างกันไปจะส่งผลต่อบุคลิกภาพ พฤติกรรม การรับรู้ การจดจำ การแก้ปัญหา ความสนใจ ดังนั้นการออกแบบสื่อหลายมิติแบบปรับตัวจะให้ความสำคัญกับรูปแบบและคุณลักษณะของผู้เรียนที่สอดคล้องกับโครงสร้างหลักที่ได้ออกแบบไว้ ซึ่งทำให้ระบบมีความยืดหยุ่นและตรงตามความต้องการของผู้เรียนแต่ละคนได้เป็นอย่างดี ซึ่งแตกต่างจากการออกแบบสื่อหลายมิติโดยทั่วไปที่ไม่ได้ให้ความสำคัญกับผู้เรียนเป็นรายบุคคล
ดังนั้นในการออกแบบสื่อหลายมิติแบบปรับตัว ผู้ออกแบบจึงมีความจำเป็นที่จะต้องศึกษารูปแบบการเรียนรู้รวมทั้งพฤติกรรมการแสดงออกของผู้เรียนแต่ละคน เพื่อนำข้อมูลที่ได้มาออกแบบสื่อให้สอดคล้องกับผู้เรียนในแต่ละคนได้ ซึ่งจะเห็นได้ว่าผู้เรียนแต่ละคนมีเอกลักษณ์เป็นของตนเองและมีความสนใจที่แตกต่างกัน ซึ่ง Robert Sylwester (1995, อ้างถึงใน อรจรีย์ ณ ตะกั่วทุ่ง, 2545) กล่าวไว้ว่า “ นักเรียนมีสมองที่ออกแบบมาต่างกัน สมองแต่ละคนแตกต่างกัน เช่นเดียวกับลายนิ้วมือและใบหน้า ผู้เชี่ยวชาญด้านการศึกษาจึงได้ศึกษาเกี่ยวกับแบบการเรียนหรือวิธีการเรียนรู้ของนักเรียนแบบต่าง ๆ ได้แก่
Rita Dunn และ Ken Dunn (1987) ได้แบ่งแบบการเรียนของนักเรียนออกเป็น 5 แบบ คือ
1. นักเรียนที่เรียนรู้ด้วยการฟัง นักเรียนแบบนี้จะรับรู้ข้อมูลได้ดีด้วยการฟังและมักใช้การพูดโต้ตอบมากกว่าการอ่าน ชอบฟังการบรรยาย การเล่าเรื่อง ชอบฟังเพลง และฟังเสียงที่มีระดับเสียงและท่วงทำนองต่างๆ ได้ดี ชอบการอภิปราย พูดคุยกับเพื่อนนักเรียนชอบดูภาพ แผนภูมิ แผนภาพ ออแกไนเซอร์แบบกราฟิกจึงเป็นเครื่องมือสำคัญ นักเรียนกลุ่มนี้ยังเรียนได้ดีจากสี เพราะจะมีความหมายกับพวกเขา
2. นักเรียนที่เรียนรู้ด้วยการสัมผัส นักเรียนแบบนี้จะรับรู้ข้อมูลได้ดีด้วยการสัมผัส แตะต้อง เช่น การเขียน การวาดภาพ การมีส่วนร่วมในประสบการณ์ตรง หรือประสบการณ์รูปธรรม
3. นักเรียนที่เรียนรู้ด้วยการเคลื่อนไหว นักเรียนแบบนี้จะรับรู้ข้อมูลได้ดีด้วยการลงมือกระทำและด้วยการเคลื่อนที่ไปมา นักเรียนจึงชอบกิจกรรมที่มีความหมายและสัมพันธ์กับชีวิตจริง
4. นักเรียนที่เรียนรู้ด้วยการสัมผัสและเคลื่อนไหว นักเรียนแบบนี้ต้องการมีส่วนร่วมในกิจกรรม ชอบกิจกรรมบทบาทสมมติและสถานการณ์จำลอง ชอบเดินไปมาในห้องอย่างอิสระ
David Kolb (1981) ได้จำแนกแบบการเรียนเป็น 4 แบบ โดยยึดหลักการเรียนรู้อิง ประสบการณ์ (Experiential Learning) ได้ดังนี้
แบบปรับปรุง (Accommodators) บุคคลแบบนี้ชอบลงมือปฏิบัติทดลองสิ่งใหม่ๆ ทำงานได้ดีในสถานการณ์ที่ต้องใช้การปรับตัว ชอบสร้างสรรค์ ลองผิดลองถูก เสี่ยง และมีแนวโน้มที่จะทำสิ่งต่าง ๆ ด้วยวิธีการที่ตนนึกคิดเอง ไม่ค่อยเป็นระบบ ชอบการตลาด
แบบคิดเอกนัย (Converges) บุคคลแบบนี้ต้องการรู้เฉพาะเรื่องที่มีประโยชน์และใช้ได้กับสถานการณ์หนึ่งๆ เท่านั้น มีความสามารถในการจัดรวบรวมและใช้แนวคิดที่เป็นนามธรรมในการปฏิบัติจริงแต่ต้องมีเป้าหมายที่ชัดเจนและกำหนดเวลาที่แน่นอน มีความสามารถในการสรุป ชอบทำงานกับวัตถุมากกว่าบุคคล ชอบอ่าน ชอบวิจัย
แบบดูดซึม (Assimilators) บุคคลแบบนี้ชอบการค้นคว้า อ่าน วิจัย และศึกษาอย่างเจาะลึก มีความอดทน และเพียรพยายามที่จะศึกษาหาข้อมูล ชอบข้อมูลที่เป็นนามธรรม เชื่อว่าตนเองเรียนรู้ได้ดีจากประสบการณ์ที่ผ่านมาและจากผู้เชี่ยวชาญ
แบบอเนกนัย (Divergers) บุคคลแบบนี้ให้ความสำคัญกับสภาพแวดล้อมรอบตัวที่สุขสบาย ชอบเรียนรู้จากคนอื่นด้วยการพูดคุยสนทนา ชอบแสวงหาทางเลือกหลาย ๆ ทาง และเรียนรู้เพื่อสร้างสิ่งที่เป็นประโยชน์ต่อคนส่วนรวม
นอกจากรูปแบบการเรียนรู้ที่มีส่วนสำคัญในการออกแบบรูปแบบผู้เรียนในสื่อหลายมิติแบบปรับตัวแล้ว ในปัจจุบันได้ให้ความสนใจกับ แบบการคิด (Cognitive Style) ซึ่งเป็นความแตกต่างระหว่างบุคคลในด้านการรับรู้ การจำ การคิด ความเข้าใจการแปลงข่าวสาร และการนำข่าวสารไปใช้ประโยชน์ และยังส่งผลต่อบุคลิกภาพ พฤติกรรม การรับรู้ การจำ การแก้ปัญหา ความสนใจ พฤติกรรมทางสังคมและการสร้างมโนทัศน์เกี่ยวกับตัวเอง (Kogan, 1971)
แบบการคิด (Cognitive Style) มีขอบเขตในการศึกษาได้หลายรูปแบบการคิดที่ได้รับการศึกษาและวิจัยมาเพื่อนำไปใช้ในวงการศึกษาและเป็นแบบที่น่าจะมีอิทธิพลต่อการเรียนรู้ คือ แบบการคิดตามทฤษฎีของ วิทกิน และคณะ (Witkin et.al, 1977) ซึ่งได้แบ่งรูปแบบการคิด ของบุคคลโดยตัดสินจากความสามารถของบุคคลที่จะเอาชนะอิทธิพลจากการลวงให้ไขว้เขวของภาพ ขณะที่บุคคลกำลังพยายามจัดจำแนกสิ่งเร้า ออกเป็น 2 รูปแบบ คือ
1. ฟิลด์ อินดิเพนเดนท์ (Field Independent) เป็นรูปแบบการคิดของบุคคลที่เป็นอิสระ จากการลวงของภาพที่เป็นพื้นได้มาก สามารถวิเคราะห์จำแนกสิ่งเร้าได้ดี ผู้ที่มีแบบการคิดแบบฟิลด์ อินดิเพนเดนท์จะสามารถเจาะเข้าถึงเนื้อหาส่วนย่อยที่เป็นส่วนประกอบของเนื้อหาสาระส่วนรวม และเข้าใจด้วยว่าส่วนย่อยนั้นเป็นส่วนที่แยกต่างหากออกมาจากส่วนรวมทั้งหมดอย่างไรและเป็นผู้ที่ สามารถนำระบบโครงสร้างของการแก้ปัญหาขอตนเองไปใช้ในการแก้ปัญหาในสถานการณ์ต่างๆ ได้
2. ฟิลด์ ดิเพนเดนท์ (Field Dependent) เป็นแบบการคิดของบุคคลที่มีลักษณะการคิดวกวน สับสนอันเนื่องมาจากอิทธิพลการลวงของภาพที่เป็นพื้น จนขาดการพินิจพิเคราะห์ในสาระที่ได้รับบุคคลแบบนี้จึงมองสิ่งต่างๆ ในภาพรวมได้ดี บุคคลประเภทที่ฟิลด์ ดิเพนเดนท์จะต้องอาศัยการมองเห็นเนื้อหาสาระที่เป็นส่วนรวมทั้งหมดก่อนเพื่อเป็นแนวทาง สำหรับทำความเข้าใจเนื้อหาส่วนย่อยซึ่งเป็นส่วนประกอบของส่วนรวมทั้งหมด และจะไม่สามารถ แยกแยะเนื้อหาสาระได้โดยไม่มีบริบทหรือสภาพแวดล้อมที่เกี่ยวข้องเข้ามาช่วย
จากที่กล่าวมาข้างต้นจะเห็นว่ารูปแบบผู้เรียน (User Model) เป็นการออกแบบระบบที่สอดคล้องกับรูปแบบการเรียนรู้และแบบการคิด ที่บ่งบอกถึงคุณลักษณะของผู้เรียนเป็นรายบุคคลซึ่งทำให้สื่อหลายมิติแบบปรับตัวมีความยืดหยุ่นและสามารถตอบสนองผู้เรียนตามความต้องการและระดับความรู้ได้ ทั้งนี้ในส่วนของการพัฒนาระบบ รูปแบบของผู้เรียน (User Model) จะมีความสามารถในการบันทึกและจดจำผู้เรียน รวมทั้งการปรับระบบให้สอดคล้องกับพฤติกรรมการใช้และข้อมูลต่างๆของผู้เรียนเมื่อ Login เข้าสู่ระบบ ซึ่งจะทำให้สามารถตอบสนอง ความต้องการของผู้เรียนแต่ละคนอย่างเหมาะสม
3. รูปแบบการปรับตัว (Adaptive Model: AM) เป็นรูปแบบของความสามารถในการปรับตัวของระบบที่สอดคล้องกับรูปแบบหลัก (Domain Model) และรูปแบบของผู้เรียน (User Model) โดยรูปแบบการปรับตัวเป็นการพัฒนาโปรแกรมหรือระบบที่สามารถนำมาปรับใช้ในสื่อหลายมิติแบบปรับตัวได้ เช่น ภาษา Java หรือ Javascript , XML , SCORM โดยส่วนใหญ่นิยมพัฒนาโดยใช้เทคโนโลยีเว็บเป็นฐาน (Web-Based Instruction) หรือระบบบริหารการเรียนการสอน (Learning Management System-LMS) ภายใต้สภาพแวดล้อมเสมือน (Learning environment) โดยรูปแบบการปรับตัว (AM) สรุปได้ดังนี้ ( วัฒนา นัทธี. 2547)
3.1 การนำเสนอแบบปรับตัว (adaptive presentation) ซึ่งเป็นแนวคิดสำหรับการปรับเปลี่ยนในระดับเนื้อหา กล่าวคือ ระบบจะวิเคราะห์ข้อมูลพื้นฐานของผู้เรียนเพื่อนำเสนอข้อมูล ที่แตกต่างกันออกไป เช่น ผู้เรียนที่มีพื้นฐานมาก่อน ก็จะมีการแสดงเนื้อหาในระดับลึกทำให้ผู้เรียนเข้าใจในรายละเอียดมากยิ่งขึ้น แต่กรณีที่ผู้เรียนไม่มีพื้นฐานมาก่อน ระบบอาจจะเริ่มจากความรู้พื้นฐานของเนื้อหาก่อนแล้วค่อยลงรายละเอียดในภายหลัง
3.2 การสนับสนุนการนำทางแบบปรับตัว (adaptive navigation support) เป็นแนวคิดเพื่อช่วยสนับสนุนกันเชื่อมโยงระหว่างเนื้อหาแต่ละหน้า เพื่อให้ผู้เรียนสามารถติดตามเนื้อหาได้โดยไม่หลงทาง จากแนวคิดนี้มีวิธีการสนับสนุนหลายแบบดังนี้
3.2.1 การแนะโดยตรง (Direct guidance) เป็นระบบที่ง่ายที่สุด คือ เมื่อผู้เรียนจะไปยังหน้าถัดไป ระบบจะเสนอหน้าถัดไปที่เหมาะสมที่สุดให้กับผู้เรียน และเมื่ออ่านตามลำดับแล้วจะทำให้ผู้เรียนเข้าใจเนื้อหาได้ดีที่สุด ทั้งนี้การเสนอหน้าต่อไปนั้นระบบจะพิจารณาจากเป้าหมายที่ ผู้เรียนกำหนด อย่างไรก็ดีวิธีการนี้อาจจะไม่สนับสนุนผู้เรียนในกรณีที่ผู้เรียนไม่เลือกตามที่ระบบเสนอ
3.2.2 การเรียงแบบปรับตัว (Adaptive ordering) เป็นแนวคิดในการจัดเรียงหน้าของเนื้อหาให้เป็นไปตามโมเดลของผู้เรียน เพื่อให้การเชื่อมโยงเป็นไปอย่าง เหมาะสมที่สุด แต่แนวคิดนี้ก็ยังมีปัญหาตรงที่การเรียงลำดับ อาจจะไม่เหมือนกันทุกครั้งทำให้ผู้เรียนเกิดความสับสนได้
3.2.3 การซ่อน (Hiding) เป็นแนวคิดที่จะซ่อนหน้าที่ไม่เกี่ยวข้อง เพื่อกันผู้เรียนจากการเข้าไปอ่านในส่วนที่ไม่จำเป็น หรือไม่เกี่ยวข้อง
3.2.4 บรรณนิทัศน์ปรับตัว (Adaptive annotation) เป็นแนวคิดที่จะเสริมเนื้อหา เพิ่มเข้าไปเพื่ออธิบายภาพรวมของแต่ละหน้า ทำให้ผู้เรียนเข้าใจได้ง่ายก่อนที่จะศึกษาในรายละเอียด ตัวอย่างที่ง่ายที่สุดของบรรณนิทัศน์ปรับตัว คือ การเปลี่ยนสีของลิงค์ในเบราว์เซอร์ เมื่อลิงค์นั้นเคยถูก เลือกไปแล้ว เพราะการเปลี่ยนสีจะช่วยให้ผู้เรียนไม่ต้องเลือก ลิงค์ซ้ำ แต่ในทางการศึกษานั้นข้อมูลเสริมมากกว่าอาจจำเป็นสำหรับแบบเรียน เพื่อให้ผู้เรียนเข้าใจองค์รวมมากขึ้น
ประโยชน์และลักษณะของบทเรียนหลายมิติ
1.เรียกดูความหมายของคำศัพท์
2. ขยายความเข้าใจเนื้อหาโดย ดูแผนภาพ หรือภาพวาด ภาพถ่าย หรือฟังคำอธิบายหรือฟังเสียง ดนตรี เป็นต้น
3. ใช้สมุดบันทึกที่มี อยู่ในโปรแกรมบันทึกใจความสำคัญ
4. ใช้เครื่องมือวาดภาพในโปรแกรมวาดแผนที่มโนทัศน์ของตน
5. สามารถเชื่อมโยงข้อมูล ต่าง ๆ ที่สนใจมาอ่านได้โดยสะดวก
6. ใช้แผนที่ระบบดูว่าขณะนี้กำลังเรียนอยู่ส่วนใดของบทเรียน




ที่มา :
กิดานันท์ มัสทอง (2543). เทคโนโลยีการศึกษาและนวัตกรรม. (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์ มหาวิทยาลัย
บุญเกื้อ ควรนาเวช (2542). นวัตกรรมการศึกษา. กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
วาสนา ชาวหา (2533). สื่อการสอน. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์โซเดียมสโตร์
สืบค้นจาก: http://learners.in.th/blog/tasana/259712
สืบค้นจาก: http://web.ku.ac.th/schoolnet/snet1/network/it/index.html
สืบค้นจาก: http://gotoknow.org/blog/tim/62306
สืบค้นจาก: http://210.246.188.53/trang1kmc/modules.php?name=News&file=print&sid=527
สืบค้นจาก: http://gold.rajabhat.edu/learn/4000107/Unit4/Unit4_1.htm
สืบค้นจาก: http://pathomchanok.multiply.com/journal/item/5
สืบค้นจาก: http://school.obec.go.th/sup_br3/t_1.htm